ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์มีการซื้อขายกันอย่างดุเดือด (เก็งกำไร) มาอย่างยาวนานแล้ว จึงอาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะมีคนพัฒนาตัวบ่งชี้ทางเทคนิค (Indicator) ที่เอาไว้วิเคราะห์ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะ และตัวบ่งชี้ทางเทคนิคหลาย ๆ ตัวก็ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับตลาดการเงินอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
บทความนี้จะเราถึงตัวบ่งชี้ทางเทคนิคที่ชื่อว่า CCI หรือ Commodity Channel Index ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ไปจนถึงหลักการเทรด้วย Commodity Channel Index ว่ามีเทคนิคในการดูสัญญาณซื้อขายได้อย่างไรบ้าง?
สารบัญ
Commodity Channel Index คืออะไร?
Commodity Channel Index (CCI) คือ ตัวบ่งชี้ทางเทคนิคสำหรับวิเคราะห์ราคาสินทรัพย์ เป็นเครื่องมือในกลุ่ม “Oscillator” ซึ่งเน้นในการใช้วิเคราะห์จุดอิ่มตัวและการแกว่งของราคาในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์และตลาด Forex
“Donald Lambert” พัฒนา Commodity Channel Index ขึ้นมาและเปิดตัวสู่สาธารณะในปี 1980 แม้จะเป็นยุคที่มีคู่แข่งที่แข่งกันพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยความนิยมในการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ในสมัยนั้น ทำให้การเทรดด้วย Commodity Channel Index ก็ค่อย ๆ ได้รับความนิยมเนื่องจากชื่อที่สะดุดตาของมันนี่เอง
หลักการคำนวณ Commodity Channel Index
ให้ลองสังเกตว่า CCI จะมีให้น้ำหนักกับค่า High, Low, Close เข้ามา เพราะมองว่า เป็นตัวแทนทางสถิติที่สำคัญ (ในขณะที่เครื่องมือในยุคเดียวกัน มักเลือกใช้แค่ Close เป็นต้น)
CCI = (Typical Price – Moving Average) / (0.015 x Mean Deviation)
- Typical Price (TP) = (High + Low + Close) / 3
- Moving Average ของ Typical Price (MA) = ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาทั่วไป (MA) = ค่าเฉลี่ยของ Typical Price ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ (ค่ามาตรฐานคือ 14 Periods)
- Mean Deviation (MD) = ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ยของ Typical Price ที่เบี่ยงออกจาก Moving Average ของ Typical Price ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (โดยทั่วไปคือ 14 Periods)
พื้นฐานของ CCI จะมีการคำนวณโดยอ้างอิงจากค่าเฉลี่ย แต่จะมีการหารค่าที่เป็นส่วนเบี่ยงเบน เพื่อปรับให้ค่าเฉลี่ยดังกล่าวกลายเป็นดัชนี -100 ถึง 100+ ไอเดียคือการพยายามแก้จุดอ่อนของอินดิเคเตอร์ในสมัยก่อน พี่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความผันผวนมากนัก (High, Low)
หลักการเทรดด้วย Commodity Channel Index
จากสูตรการคำนวณข้างต้นเราจะเห็นว่า CCI ก็ยังใช้การ “เปรียบเทียบราคาปัจจุบันของสินทรัพย์กับค่าเฉลี่ยของราคา ณ ช่วงเวลาที่สนใจ” คล้าย ๆ กับ Indicator ยอดนิยมอื่น ๆ เพียงแต่พยายามปรับในเรื่อง High, Low ให้เหมาะสมมากขึ้น (ตามมุมมองของผู้พัฒนา) และแสดงออกมาเป็นดัชนีว่าราคาอยู่ในสภาวะ Overbought หรือ Oversold หรือไม่?

ภาพด้านบน คือกราฟสกุลเงินปอนด์ GBP/USD และ “เส้นสีฟ้า” ในกรอบด้านล่างคือ Commodity Channel Index หรือ CCI นั่นเอง
Donald Lambert เคยอธิบายว่า พฤติกรรมราคาสินทรัพย์ส่วนใหญ่ 70-80% จะวิ่งในกรอบดัชนี CCI ที่ -100 ถึง 100+ แต่หากราคาเป็น Strong-Trend ก็จะวิ่งทะลุไปหลัก 200-300 ได้ไม่ยาก ดังนั้น โดยพื้นฐาน การเทรดด้วย Commodity Channel Index ยังให้ความสำคัญกับ Overbought และ Oversold อยู่มาก โดยมองว่า -100 ก็คือ Oversold และ 100+ ก็คือ Overbought
ซึ่งก็แล้วแต่พฤติกรรมราคาในช่วงนั้นว่า จะยังมีแรงวิ่งต่อไปหรือหมดแรงและกำลังจะกลับตัว ดังนั้น ที่โซนประมาณ -100 กับ 100+ จึงเป็นโซนที่สำคัญสำหรับคนที่เทรดด้วย CCI ทั้งนี้ หากราคามีแนวโน้มที่แข็งแกร่งและทะลุเลข “100” เทรดเดอร์หลายคนก็อาจจะเริ่มปรับกลยุทธ์เป็นการเทรดแบบ Breakout เป็นต้น นี่คือแนวคิดพื้นฐานของการเทรดด้วย Commodity Channel Index
สรุปหลักการอ่านค่า CCI
- หากเส้น CCI อยู่เหนือ +100 โดยทั่วไปถือว่า สินทรัพย์มีสภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) และอาจเกิดจากการปรับฐานของราคาลงมา
- ในทางกลับกัน หากเส้น CCI ต่ำกว่า -100 มันสามารถเห็นได้ว่าเป็นสัญญาณว่าสินทรัพย์ถูกขายมากเกินไป (Oversold) และอาจจะกำลังฟื้นตัวขึ้น
- ราคาที่ทะลุเกิน -100 หรือ +100 อาจถือว่าเป็นการ Breakout
- เทรดเดอร์อาจต้องกำหนดและทดสอบด้วยตัวเองว่า ค่าที่เกิน -100 หรือ +100 ควรเกินไปเท่าไรจึงถือว่าเป็นการ Breakout เช่น บางคนกำหนดว่า ถ้าราคาแตะ +200 ถือว่า Breakout เป็นต้น
ตัวอย่างการเทรด Commodity Channel Index ในตลาด Forex
อย่างที่เกริ่นไปว่า การเทรดด้วย Commodity Channel Index ไม่ได้มีเฉพาะทองคำ หรือ น้ำมัน ที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์เท่านั้น แต่สามารถประยุกต์มาเทรดกับคู่เงิน Forex ได้ด้วย และนี่เป็นตัวอย่างคร่าว ๆ ได้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น
1. การเปลี่ยนแนวโน้ม
อธิบายไปแล้วว่า ค่าที่เกิน -100 หรือ 100+ ก็อาจถือว่าราคากำลังจะ Breakout และกำลังขึ้นไปสู่ทิศทางใหม่ ซึ่งสำหรับการพิจารณาว่า Breakout จริงหรือไม่? เทรดเดอร์จะใช้เครื่องมือในกลุ่มที่วิเคราะห์โซนราคาโดยเฉพาะ เช่น Fibonacci, Pivot Point
2. Overbought และ Oversold
การเทรดด้วย Commodity Channel Index หลัก ๆ จะพึ่งพาพฤติกรรมของ CCI ที่เป็น Overbought หรือ Oversold แต่ไอเดียหลักคือคุณต้องสามารถประเมินทิศทางหลักของราคาได้ก่อน ซึ่งคุณอาจจะวิเคราะห์แนวโน้มด้วยการพิจารณารูปแบบกราฟโดยตรง (Price Action, Price Structure) เพื่อประเมินก่อนว่าราคาเป็นแนวโน้มหรือเป็นไซด์เวย์

หลังจากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ CCI ในการกำหนดจังหวะการเทรด ลองสังเกตจากภาพด้านบน เทรดเดอร์ประเมินแล้วว่าราคาเป็นไซด์เวย์ ซึ่งเครื่องมือในกลุ่ม Oscillator จะสามารถนำมาใช้เป็นสัญญาณซื้อขายได้โดยตรง
- เมื่อราคาต่ำกว่า -100 ก็ถือเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะ “Buy” ได้
- ในทางกลับกันถ้าราคาสูงกว่า +100 ก็เป็น Overbought อาจจะเป็นจังหวะที่เราเข้า Sell ได้เช่นกัน
3. Divergence
หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของเครื่องมือที่ออกแบบมาในลักษณะของ “ดัชนี” คือการเปรียบเทียบความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ระหว่างราคากับตัวอินดิเคเตอร์ ว่าเคลื่อนไหวในลักษณะไหน วิ่งไปในทางเดียวกัน หรือเริ่มขัดแย้งกัน ซึ่งจุดที่ราคากับเครื่องมือเริ่มขัดแย้งเราเรียกว่า Divergence และเป็นจุดที่ราคามัดเกิดการกลับตัวในที่สุด

จากภาพด้านบนเรียกว่า Bullish Divergence จะเกิดขึ้นเมื่อราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง แล้วเมื่อราคาปรับตัวลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถลงต่อได้แล้ว ในทางคณิตศาสตร์จะมองว่าอัตราเร่งของราคาถูกเปลี่ยนทิศทาง (ราคาชะลอแรง) ซึ่งเทรดเดอร์จะสังเกตเห็นได้จากอินดิเคเตอร์ก่อน ในที่นี่เราใช้ CCI และเมื่อราคายังลงต่อ แต่ CCI ปรับตัวสูงขึ้น เราก็เรียกว่าเป็น Bullish Divergence หรือ “ไดเวอร์เจนท์” เป็นสัญญาณบอกว่าราคาอาจจะกำลังฟื้นตัวขึ้นแล้ว

ในทางกลับกัน ภาพที่เห็นด้านบนนี้ เป็นฝั่งตรงข้ามเรียกว่า Bearish Divergence ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อราคาเป็นขาขึ้นและเตรียมลง โดยในภาพจะเห็นว่าราคาจะปรับตัวขึ้นต่อ แต่เครื่องมือของเราคือ CCI ได้ปรับตัวลงมาแล้ว นั่นแปลความหมายได้ เกิดการชะลอแรงซื้อขึ้นมาแล้ว ถ้าเราพิจารณาจากกราฟราคาอย่างเดียวอาจสังเกตเห็นได้ยาก จึงมีการใช้ CCI เพื่อสังเกตการชะลอตัวดังกล่าว
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ CCI
CCI ใช้กับตลาด Forex ได้หรือไม่?
การเทรดด้วย Commodity Channel Index ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ “สินค้าโภคภัณฑ์” เท่านั้น CCI เป็นเครื่องมือประเมินการอิ่มตัวของราคาที่มีความ “ไว” ต่อราคาสูง การประยุกต์ใช้กับตลาดที่มีความผันผวน เช่น Gold หรือ Forex ก็อาจต้องปรับค่าให้ช้าลง เป็นต้น (ขึ้นอยู่กับการทดสอบของแต่ละคน)
กลยุทธ์การเทรดด้วย CCI
โดยส่วนมากใช้ CCI เป็นตัวกำหนดสัญญาณซื้อหรือขาย โดยจะต้องใช้ประกอบกับเครื่องมือวิเคราะห์แนวโน้มอื่น ๆ เช่น MACD, Moving Average เพื่อกำหนดหน้าเทรดหลักก่อน
อินดิเคเตอร์ที่ใช้กับ CCI
ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดและสไตล์การเทรดของแต่ละคน เทรดเดอร์บางคนใช้ CCI กับเครื่องมือในกลุ่มการวิเคราะห์ Trend เช่น Moving Average, Bollinger Bands หรืออาจใช้ CCI เป็นตัวจับจังหวะซื้อขาย และใช้ Fibonacci ในการกำหนดแนวรับแนวรับต้านก็ได้
หลักการเทรดด้วย Commodity Channel Index
นิยมใช้เทรดกันใน 2 ลักษณะ อย่างแรก คือ ใช้แนว -100 กับ 100+ เป็นโซนที่ประเมินว่า ราคา “น่าจะกลับ” เร็ว ๆ นี้ ซึ่งหมายถึงการพิจารณา Overbought และ Oversold นั่นเอง ส่วนการเทรดด้วย Commodity Channel Index อีกแบบ ก็คือการดูว่า ราคาเลยโซน -100, 100+ ไปมากน้อยเพียงใด เพื่อประเมินว่า ราคาได้ Breakout แล้วหรือไม่?