Aximdaily
ภาพรวมตลาด Forex ในปี 2022

แนวโน้มตลาด Forex ในปี 2023 และสรุปเหตุการณ์สำคัญในปี 2022

แนวโน้มตลาด Forex ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนอย่างหนัก ตั้งแต่ประเด็นสงครามการค้า สงครามระหว่างภูมิภาค ไปจนถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ มันได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการค้าและเศรษฐกิจได้เกือบทั้งหมด และจากปัจจัยที่เกิดขึ้น ทำให้เชื่อได้ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจปีหน้าจะมีเติบโตที่อ่อนแอลง แต่ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง และอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ การอัตราเร่งในการขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ใกล้เข้ามาแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐ กำลังเจ็บปวดจากอัตราดอกเบี้ยที่กำลังอยู่ในระดับสูง, ภาพรวมยุโรปกำลังหดตัว แต่ในทางกลับกัน ภูมิภาคเอเชียกลับมีโอกาสเติบโต

ตลาด Forex สำหรับนักลงทุนรายย่อยเติบโตขึ้นอย่างมาก ปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศทั่วโลกเติบโตขึ้นสู่จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อานิสงส์จากเศรษฐกิจที่ผันผวน รายงานของ BIS ระบุว่า ธุรกรรมฟอเร็กซ์ในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น 14% จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว แตะระดับ 7.5 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นผลโดยตรงจากต้นทุนการทำธุรกรรมที่ลดลง การเข้าถึงที่มากขึ้นจากช่องทางออนไลน์ รวมถึงการเติบโตของการซื้อขายผ่านมือถือ ล้วนแล้วแต่มีส่วนสนับสนุนในการเติบโตนี้

สารบัญ

ใจความหลัก:

• อัตราเงินเฟ้อในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่แตะระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ โดยได้รับแรงกดดันจากราคาพลังงานและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
• เพื่อควบคุมไม่ให้ราคาพุ่งสูงขึ้น ธนาคารกลางเช่น Federal Reserve จำเป็นต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าว ซึ่งส่งผลลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
• รัสเซีย-ยูเครน มีผลกระทบในทางลบที่เกินขนาดต่อเศรษฐกิจโลกในปีนี้ และมีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไปในปี 2023
• ดอลลาร์สหรัฐ (USD) พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ เช่น ยูโรและเยน และยังคงเป็นสกุลเงินหลักในปี 2022
• ปริมาณการซื้อขายรายวันในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบ OTC แตะ 7.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ เพิ่มขึ้น 14% เทียบกับช่วง 3 ปีก่อนที่อยู่ประมาณ 6.6 ล้านล้านดอลลาร์
• USD ยังคงเป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลกโดยมีส่วนแบ่งมากกว่า 88% ของการซื้อขายทั่วโลกทั้งหมด
• หยวนจีน (Chinese Renminbi) ขึ้นมาเป็นสกุลเงินที่มีปริมาณการซื้อขายเป็นอันดับ 5 ของโลก ขึ้นมาจากอันดับที่ 8
• ตลาดเกิดใหม่ มีการเติบโตที่แข็งแกร่งทั่วทั้งกระดาน บางตลาดยังคงเติบโตได้ค่อนข้างดี และคาดว่าจะมีผลประกอบการที่ดีกว่าตลาดที่พัฒนาแล้วในอนาคตอันใกล้นี้
• AI และระบบการซื้อขายอัตโนมัติ (Automated Trading System) ถือเป็นอนาคตของการซื้อขายฟอเร็กซ์ที่มีประโยชน์มากมายสำหรับนักเทรด Forex เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
• ตลาด Crypto ปรับตัวลงครั้งใหญ่ โดยราคา Bitcoin ซื้อขายต่ำกว่าจุดสูงสุดเกือบ 80%
• การล้มละลายของ FTX และ Blockfi สั่นคลอนความน่าเชื่อถือของตลาด Crypto และทำให้นักลงทุนถอนเงินออกจากตลาด
• เทรดเดอร์และนักลงทุนมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากประเด็นนี้เป็นความกังวลหลักสำหรับทุกคนในปี 2022 และเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ใกล้เข้ามา 

ภาพรวมตลาดปี 2022

เงินเฟ้อ เป็นคำที่ได้รับการค้นหามากที่สุดในปี 2022

Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า ในการตอบคำถามของเธอเกี่ยวกับว่าโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่ “อัตราเงินเฟ้อได้แสดงชัดเจนแล้วว่ามันแข็งกร้าวกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตทั้งสามครั้ง – วิกฤตโรคระบาด, สงคราม และค่าครองชีพ” Kristalina อธิบายว่า มันเป็นการผลักดันเงินเฟ้อให้เติบโตจากการที่สินค้ามีไม่เพียงพอกับความต้องการ

อัตราเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษในปี 2022

ประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ในกลุ่ม G7 ประสบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในรอบหลายทศวรรษ (แม้ว่าจะยังคงต่ำกว่าจุดสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ 1970 ซึ่งเกิดการ “ช็อก” ของราคาน้ำมันครั้งใหญ่ถึงสองครั้ง) กว่า 69% ของประเทศกลุ่ม G7 มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 50 ปี และกว่า 79% ของกลุ่ม G7 ประสบกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 6% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤตการทางการเงินอันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งโลก

สหราชอาณาจักร มีอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ายังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากผ่านช่วงการระบาดใหญ่ COVID-19 และความไม่สมดุลจากราคาสินค้าและพลังงาน อันเป็นมาจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

การพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียในปริมาณที่สูง ทำให้ราคาพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรและยุโรป ค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้น

ในฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี ราคาพลังงานส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อมากกว่าในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา

ผลกระทบของการรุกรานยูเครนของรัสเซียต่อตลาดการเงินโลก

สงครามส่งผลอย่างลึกซึ้งต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลก หัวหน้า IMF กล่าวว่า

“สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนเป็นปัจจัยหลักที่ดึงเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย”

Kristalina ประเมินว่า สงครามดังกล่าวส่งผลลบอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกในปีนี้ และมีแนวโน้มจะยังส่งผลเสียต่อไปในปี 2023 เธอยังมองว่า ปัจจัยนี้จะดันให้ต้นทุนอาหารและพลังงานก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งนำไปสู่เงินเฟ้อที่อาจจะสูงเกินที่จะควบคุมได้

เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ธนาคารกลางทั่วโลก เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve) ได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร่าว ส่งผลเชิงลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ รายงานของ IMF ในเดือนตุลาคม 2022 ประเมินว่า การเติบโตทั่วโลกจะลดลงเหลือ 2.7% ใน 2023 จากที่เคยประเมินไว้ 3.2% มีการคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังจะมาถึงจะแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้มาก และอาจทำลายผลผลิตทางเศรษฐกิจทั่วโลกได้ถึง 4 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2026

วัฏจักรแห่งนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด

ปี 2022 เป็นปี “รถไฟเหาะ” ในโลกของตลาดการเงิน นักลงทุนพยายามประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางหลักอื่น ๆ จะเพิ่มอัตราในการต่อกรกับแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อมากน้อยขนาดไหน ในขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ในหลายประเทศ อัตราเงินเฟ้อขึ้นมาแตะระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ แรงกดดันที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ต้นทุนราคาอาหารและพลังงานเท่านั้น แต่แรงกระเพื่อมยังส่งไปถึงผู้กำหนดนโยบายทางการเงินที่กำลังหันไปใช้แนวทางที่ “เข้มงวด” มากขึ้น เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่หลายประเทศ ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตั้งแต่ต้นปี 2022 ที่ผ่านมา

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ก้าวร้าว

หากนับเฉพาะจุดเริ่มต้นของวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ ประเทศพัฒนาแล้วที่ใหญ่ที่สุด 10 ประเทศ ได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยรวมกันแล้ว 2,165 Basis Points (bps) และต่อไปนี้จะเป็นการสรุปภาพรวมของแต่ละประเทศ

แนวโน้มตลาด Forex แปรผันไปตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
1. สหรัฐอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกา อัตราเร่งในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 นั้นรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปี 1988-89 หรือกว่า 2 ทศวรรษ โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed funds rate) อยู่ 4.50% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2007

แม้ว่า FED จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรงมากเกินไป แต่ FED ก็เชื่อมั่นว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างแท้จริงก็ต้องใช้เวลากว่า 3 ปี จึงจะเห็นผล พวกเขาเชื่อในแนวทางที่ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยในตอนต้น แล้วค่อยประคองอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจที่อ่อนตัวลง ทำให้มีการคาดการณ์ว่า FED จะยุติการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดต่อไป ซึ่งอาจส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงจากระดับที่เป็นจุดสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษในช่วงที่ผ่านมา

2. ยูโรโซน

ในเดือนกรกฎาคม 2022 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปี โดยปรับขึ้น 0.50 bps (0.50%) เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ผู้กำหนดนโยบายของ ECB เห็นพ้องต้องกันว่า นโยบายทางการเงินควรได้รับการปรับมาตรฐานและเข้มงวดขึ้น แม้ว่าจะต้องทำในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็ตาม

ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม อีก 0.50 bps หลังจากการปรับขึ้น 75 bps ในเดือนตุลาคม เท่ากับว่า อัตราดอกเบี้ยขึ้นมาระดับ 2.50% ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2009

3. สหราชอาณาจักร

ในระหว่างการประชุมเดือนธันวาคม ธนาคารกลางอังกฤษ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายพุ่งขึ้นสู่ระดับ 3.50% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นภายในครั้งเดียวด้วยอัตราที่มากที่สุดในรอบ 33 ปี และดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าว ก็เป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษ ยังกล่าวหนักแน่นว่า อาจจำเป็นต้องใช้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเพื่อลดความรุนแรงของอัตราเงินเฟ้อ

สหราชอาณาจักรยังคงรักษาการเติบโตได้อย่างน่าประหลาดใจ โดยภาพรวมติดลบเพียง 1.7% เปรียบเทียบกับภูมิภาค ดังนั้น มีความน่าสนใจในแง่ของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หากธนาคารกลางอังกฤษไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปมากกว่านี้

4. แคนาดา

ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึง ธันวาคม 2022 ธนาคารกลางแคนาดา เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็วจาก 0.25% สู่ระดับเป็น 4.25% ตอบสนองต่ออัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งเงินเฟ้อแคนาดาแตะระดับ 6.7% ในเดือนมีนาคม 2022 และขึ้นมาที่ 6.9% ในเดือนตุลาคม 2022

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2022 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางแคนาดาประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% สรุปว่าปี 2022 แคนาดาขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วถึง 7 ครั้ง อย่างไรก็ตาม สัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและความผันผวนของราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกของแคนาดา ก็มีแนวโน้มจะทำให้เชื่อว่า อาจจะใกล้ถึงจุดสูงสุดของรอบในการขึ้นดอกเบี้ยของแคนาดา

5. นิวซีแลนด์

เช่นเดียวกันกับอีกหลายประเทศ มีการคาดการณ์ว่านิวซีแลนด์จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 2023 แต่ธนาคารกลางก็ยังจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยในวันที่ 23 พฤศจิกายน 20222 ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ ขึ้นดอกเบี้ย 75 bps พาดอกเบี้ยของประเทศไปสู่ระดับ 4.25% ในขณะที่เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 7.2%

ความจริงธนาคารกลางนิวซีแลนด์ขึ้นดอกเบี้ยมาแล้ว 9 ครั้งติดต่อกันตั้งแต่เดือนตุลาคม 2021 จนถึงปัจจุบัน

6. ออสเตรเลีย

ในเดือนธันวาคม 2022 ธนาคารกลางออสเตรเลียขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ทำให้ผู้จำนองมีความเสี่ยงมากขึ้นต่ออัตราดอกเบี้ยที่แพงขึ้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 6 ครั้งก่อนหน้านี้ ทำให้ค่าจำนองโดยเฉลี่ยสูงขึ้นมากกว่า 1,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (672 USD)

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ธนาคารกลางออสเตรเลียขึ้นดอกเบี้ยรวมแล้วกว่า 250 bps และเพิ่งกล่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก แม้จะอยู่ท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจก็ตาม

7. ญี่ปุ่น

ธนาคารกลางญี่ปุ่น เป็นธนาคารกลางเพียงแห่งเดียวในบรรดาธนาคารกลางรายใหญ่ ที่พยายามรักษาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมาตรฐานให้อยู่ในระดับต่ำและยึดมั่นในแนวทางของการผ่อนคลายทางการเงิน

เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างมากเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยสหรัฐกับญี่ปุ่น กระตุ้นให้ทางการญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงิน ในวันที่ 20 ธันวาคม 20222 ธนาคารกลางญี่ปุ่น ประกาศขยายกรอบผลตอบแทนพันธบัตรให้สูงขึ้นและกรอบกว้างขึ้น ที่ระดับ [-0.5% ถึง 0.5%] จากเดิมที่อยู่ระดับ [-0.25% ถึง 0.25%] ในทางเทคนิคแล้ว มีกลไกเท่ากับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย


ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่ใกล้แค่เอื้อม?

เป็นเรื่องยากมากที่จะคาดการณ์ภาวะถดถอยก่อนที่จะเกิดขึ้น บ่อยครั้ง ที่มีการประกาศการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างทางการ ก็มักเป็นช่วงที่ผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดต่อตลาดได้ผ่านพ้นไปแล้ว

ณ เวลานี้ เป็นสำคัญสำหรับเศรษฐกิจโลก: อัตราเงินเฟ้อกำลังดำเนินไปในระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ, ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด, การคาดการณ์ว่า มีโอกาสมากขึ้นที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ในปี 2023 และจะเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายในระดับเดียวกันกับวิกฤตทางการเงินในปี 2008 และโรคระบาดในปี 2020 ที่ผ่านมา

ภาวะเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ Covid-19 อย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังดิ้นรนเพื่อฟื้นตัวจากปัจจัยดังกล่าว ก็เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทั้งหมดนี้ทำให้มีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในระดับปานกลางในปี 2023 นอกจากนี้ ปัจจัยเร่งยังมีธนาคารกลางสหรัฐ ที่ยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อพยายามต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีโอกาสถึง 63% ที่จะเกิดขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ ในเดือนกรกฎาคม ที่ประเมินโอกาสไว้ที่ 49% นี่เป็นครั้งแรกที่การสำรวจระบุความน่าจะเป็นไว้สูงกว่า 50% นับตั้งแต่การหดตัวของเศรษฐกิจครั้งล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2020 แม้ว่าจะยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ชัดเจนว่า เศรษฐกิจถดถอยจะรุนแรงหรือยาวนานเพียงใดแค่ไหน แต่ประวัติศาสตร์ทางการเงินบอกเราว่า มันจะเจ็บปวดเสมอ

NBER ประกาศ “ภาวะถดถอยจากอะไร”

แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มหดตัวในปีหน้า แต่ “NBER” (National Bureau of Economic Research) เชื่อว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันยังจะคงดำเนินต่อไปได้ แม้ว่า GDP สหรัฐฯ จะหดตัวติดต่อกันสองไตรมาส แต่ตัวเลขการจ้างงานกลับออกมาน่าประทับใจ

ทั้งนี้ การประกาศว่าได้เกิดภาวะถดถอยแล้วนั้น NBER จะประเมินตัวแปรทางเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งเชื่อว่าจะหดตัวลงเป็นส่วนมาก รวมถึงตลาดแรงงาน (เป็นปัจจัยหลักที่ใช้ในการประเมิน)

อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก Covid-19 ครั้งล่าสุดเป็นข้อยกเว้นที่น่าสนใจ NBER ต้องการความยืดหยุ่นในคำจำกัดความ ซึ่งอาจพิจารณาทั้งจากความรุนแรงและความกว้างของผลกระทบ โดยหลักแล้ว คือ – วิเคราะห์เชิงลึก การแพร่กระจาย และระยะเวลา เมื่อพิจารณาครบทุกปัจจัย


ดอลลาร์ยังแข็งแกร่งในปี 2022

ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ และยังคงเป็นสกุลเงินหลักในปี 2022 โดยประมาณ 88% ของการซื้อขายสกุลเงินทั้งหมด เป็นการแลกเปลี่ยนกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่ได้เปลี่ยนไปมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งของเงินยูโรได้ลดลงจาก 32% เหลือ 31% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

แม้ว่าตอนนี้ เราอาจรู้สึกว่าจะมีอะไรแปลก ๆ ในเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็ทำให้มันกลายเป็นการลงทุนที่ดีกว่าสกุลเงินอื่น ๆ ทั้งนี้มาจากปัจจัยหลายประการ

Kenneth Rogoff นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และอดีตหัวหน้า IMF กล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐกำลังเร่งที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าประเทศสำคัญอื่น ๆ หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ใกล้ศูนย์ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ธนาคารกลางก็เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม และตอนนี้พวกเขาได้เพิ่มอัตราขึ้นอีกสามในสี่จุด อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้เงินดอลลาร์มีความน่าสนใจมากขึ้นสำหรับนักลงทุน เนื่องจากพวกเขาสามารถได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น

ดอลลาร์สหรัฐ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven)

สภาพแวดล้อมของวัฏจักรในปัจจุบัน สร้างความกังวลในการปกป้องพอร์ตโฟลิโอของเทรดเดอร์และนักลงทุน เนื่องจาก Covid-19, อัตราเงินเฟ้อ, การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และความขัดแย้งในยุโรป ล้วนสร้างความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลก นักลงทุนมักจะแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ถือครองอยู่ไปเป็น “สินทรัพย์ปลอดภัย “ (Safe Asset) เพื่อป้องกันความเสี่ยงในพอร์ตการเงินของพวกเขาในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยเช่นที่เรากำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตการเงินและท่ามกลางการลดลงของสินทรัพย์แบบดั้งเดิม นักลงทุนจะย้ายเงินไปยังสินทรัพย์ปลอดภัย!

Vassili Serebriakov วาณิชธนกิจของ UBS กล่าวว่า เงินดอลลาร์ทำหน้าที่เป็น “ที่หลบภัย” เมื่อนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก พวกเขานำเงินของพวกเขาไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ส่งผลให้ค่าเงินแข็งขึ้น

ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ได้รับการยอมรับว่า เป็นสกุลเงินที่ปลอดภัยเนื่องจากเป็นสกุลเงินของประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในโลก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนยังคงมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ เนื่องจาก USD เป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลก จึงใช้ในธุรกรรมทางธุรกิจทั่วโลก และได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนในประเทศหรือระหว่างประเทศน้อยกว่าสกุลเงินอื่น ๆ

ยิ่งไปกว่านั้น สกุลเงินดอลลาร์มีระดับสภาพคล่องสูงสุดในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับนักเทรดที่จะแปลงสินทรัพย์ของตนเป็นดอลลาร์ แผนภูมิด้านล่างแสดงมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยวัดจากดัชนีดอลลาร์สหรัฐ

USD ยังแข็งแกร่ง

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร?

ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อในประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น มันก็เท่ากับประเทศอื่น ๆ ต้องต่อสู้กับความยากลำบากจาก “ราคา” ที่สูงขึ้น, การชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้น

เมื่อเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวในสหรัฐฯ สูงขึ้นพร้อมกับความกังวลของตลาดการเงิน Maurice Obstfeld สมาชิกอาวุโสของ Peterson Institute for International Economics ให้ความเห็นของเขา และยังกล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วทุกแห่งกำลังชะลอตัว อันเป็นผลจากภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้น

ดัชนีดอลลาร์เพิ่มขึ้น 10% ตั้งแต่ปี 2002 ขณะที่สกุลเงินของประเทศตลาดเกิดขึ้นเพิ่มขึ้น 3.7% ในปีนี้ แต่ยังคงต่ำกว่าจุดสูงสุดหลังจากการระบาดใหญ่ในปี 2020 นั่นเป็นเพราะ “ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าไม่เพียงสะท้อนถึงความคาดหวังเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (ซึ่งทำให้ความต้องการพันธบัตรสหรัฐพุ่งสูงขึ้น) แต่ยังหมายถึง ความเสี่ยงจากภาวะถดถอยทั่วโลกที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกที่สูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

เงินดอลลาร์สหรัฐมีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบการเงินและการค้าโลก บริษัทข้ามชาติและสถาบันการเงินต่างใช้เงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินสำรองขององค์กรในการกำหนดราคาสินค้าและการชำระบัญชี ราคาอาหารและพลังงานส่วนใหญ่ก็ถูกกำหนดด้วยมาตรฐานดอลลาร์ในตลาดโลก และในทำนองเดียวกัน ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากที่กู้ยืมหนี้สิน ก็เป็นหนี้สินที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์เช่นกัน

ทั้งนี้ การศึกษาของ IMF ระบุว่า ประมาณ 40% ของธุรกรรมทั่วโลก เป็นการทำผ่านสกุลเงินดอลลาร์ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ หรือไม่ก็ตาม

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทุกครั้งที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ “เจอโรม เพาเวลล์” พูดถึงการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไป มันก็หมายถึง เขากำลังเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมสำหรับเศรษฐกิจของทั้งโลก

มันเป็นผลกระทบที่เจ็บปวดเป็นพิเศษต่อประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มียอดหนี้ในสกุลเงินดอลลาร์จำนวนมาก เมื่อเร็ว ๆ นี้ อาร์เจนตินาสั่งห้ามนำเข้าสินค้ากล่าว 31 รายการที่เห็นว่าไม่จำเป็น รวมถึงเรือยอทช์และวิสกี้ หรือตัวอย่างอื่นอย่างราคาอาหารในไนจีเรียพุ่งขึ้นเกือบ 20% ทุกปี เนื่องจากการลดลงของ “สกุลเงินไนรา” ซึ่งเป็นสกุลเงินท้องถิ่นของไนจีเรีย, ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ต่างประเทศของศรีลังกาก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกันนับตั้งแต่การผิดนัดชำระหนี้ในเดือนพฤษภาคม 2022


มูลค่าการซื้อขายในตลาด Forex ก้าวกระโดดในปี 2022

การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบ OTC ทะลุ 7 ล้านล้านดอลลาร์

ปริมาณการซื้อขายรายวันในตลาด FX แบบ OTC แตะ 7.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ จากการสำรวจมูลค่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่าสุดของ BIS OTC ที่เผยแพร่ในเดือนตุลาคม 2022 ปริมาณการซื้อขาย FX เพิ่มขึ้น 14% จากช่วงสามปีล่าสุดที่อยู่ราว 6.6 ล้านล้านดอลลาร์

การซื้อขาย FX swap และตลาด Spot ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก โดย FX Spot กินส่วนแบ่ง 28% หรือ 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวัน, FX swaps ซึ่งเป็นตราสารที่มีการซื้อขายมากที่สุด มีส่วนแบ่งการซื้อขายทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 49% เป็น 51% ในปีนี้ และมีมูลค่าการซื้อขายทั่วโลกอยู่ที่ 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวัน ในขณะที่ FX option คิดเป็น 4% เท่านั้น ทั้งนี้ ตราสารแบบ Outright Forwards ยังคงอยู่ที่ 15% ในปี 2022 ไม่เปลี่ยนแปลงจากการสำรวจครั้งล่าสุด

มูลค่าการซื้อขายในตลาด Forex

การเพิ่มขึ้นอย่างมากของการซื้อขายระหว่างดีลเลอร์ (ตัวกลางหรือโบรกเกอร์) นั้นสะท้อนให้เห็นถึงความผันผวนที่เพิ่มขึ้นในตลาดสกุลเงิน ซึ่งขณะนี้คิดเป็น 46% ของมูลค่าการซื้อขายทั่วโลกในตลาด FX เพิ่มขึ้นจาก 38%, มูลค่าการซื้อขายของสถาบันการเงินอื่น ๆ ลดลงเหลือ 48% จาก 55% ในปี 2019

ในทางกลับกัน ส่วนแบ่งของลูกค้าที่ไม่ใช่สถาบันการเงินยังคงอยู่ในฝั่งขาลง เหลือ 6% จากเดิม 7% ในปี 2022

การซื้อขาย FX ยังคงกระจุกตัวอยู่ในศูนย์กลางของตลาดการเงินหลัก 5 แห่งทั่วโลก สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยรวมแล้วคิดเป็น 78% ของการซื้อขาย FX จากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรยังคงเป็นศูนย์กลาง FX โดยมีสัดส่วน 38% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมด แม้ว่าจะลดลงจาก 43% เมื่อสามปีก่อน ทั้งนี้ สัดส่วนกว่า 62% เป็นการซื้อขายแบบ OTC เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 56% ในปี 2019

USD ยังคงเป็น “เบอร์หนึ่ง”

ไม่น่าแปลกใจเลยที่เงินดอลลาร์สหรัฐ ยังคงเป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลกโดยมีส่วนแบ่งมากกว่า 88% ของการซื้อขายทั่วโลกทั้งหมด ไม่เปลี่ยนแปลงจากการสำรวจครั้งล่าสุด อันดับที่สองคือเงินยูโรที่มีส่วนแบ่งทั่วโลก 30.5% ในเดือนเมษายน 2022 แม้จะมีส่วนแบ่งที่ลดลงจาก 32% ในปี 2019 แต่เงินยูโรยังคงเป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับสองทั่วโลก ถัดมาเป็นเงินเยนของญี่ปุ่นและเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ ที่กินส่วนแบ่ง 17% และ 13% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม การก้าวกระโดดครั้งสำคัญเป็นของ “เงินหยวน” ของจีน ก็ผลักดันให้หยวนขึ้นมาเป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 จากอันดับที่ 8 ในปี 2019 ส่วนแบ่งของเงินหยวนของจีนเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 7% ในเดือนเมษายน 2022

USD ยังคงเป็น "เบอร์หนึ่ง"

สงครามการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล

เงินไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาในรูปแบบจับต้องได้อีกต่อไป เรากำลังอยู่ในยุคดิจิทัลและธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกกำลังพิจารณาที่จะออกสกุลเงินดิจิทัลของตนเอง

สกุลเงินดิจิทัลในหัวข้อนี่เป็น “เวอร์ชันดิจิทัล” ของเงินสด เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ควบคุมโดยธนาคารกลาง เช่น ดอลลาร์ดิจิทัล หรือดิจิทัลหยวน แปลว่า “สกุลเงินดิจิทัลมูลค่า 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรมูลค่า 10 ดอลลาร์เสมอ” (ซึ่งแตกต่างจาก Cryptocurrency ในความหมายทั่วไปที่เป็น “สินทรัพย์ดิจิทัล” ที่พัฒนาโดยเอกชน) แต่ยังมีการถกเถียงกันค่อนข้างมากว่า ธนาคารกลางยังมีหน้าที่ในการออกและจัดการสกุลเงินดิจิทัลเพื่อควบคุมปริมาณเงินอยู่หรือไม่ หรือต้องมีแนวทางในการจัดการอย่างไร?

การเติบโตที่แข็งแกร่งในตลาดเกิดใหม่

มักเป็นข่าวร้ายสำหรับตลาดเกิดใหม่ เมื่ออัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้นในสหรัฐฯ และยุโรป ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า และตลาดผันผวน ทำให้นักลงทุนหลีกหนีความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม บางส่วนยังคงเติบโตได้ค่อนข้างดีและคาดว่าจะมีประสิทธิภาพดีกว่าตลาดที่พัฒนาแล้วในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้ ตลาดเกิดใหม่ยังผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมากกว่าครึ่งหนึ่ง

ความต้องการน้ำมันดิบและโลหะ เช่น ทองแดงและนิเกิลส่งผลดีต่อผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงอินโดนีเซีย ธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่จำนวนหนึ่งมีท่าทีเชิงรุกมากกว่าธนาคารกลางสหรัฐในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ เช่น ธนาคารกลางบราซิล, ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตลอดจนสงครามในยูเครน ส่งผลดีต่ออินเดียและอินโดนีเซีย ที่สหรัฐฯ หันมาบริโภคสินค้าจากสองประเทศนี้มากขึ้น

ในบรรดาตลาดเกิดใหม่ ผู้จัดการกองทุนมองว่า อินเดียจะเข้ามาแทนที่จีนในฐานะเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกภายในปี 2030 ตามรายงานของ Capital Economics และในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติได้ซื้อหุ้นในอินเดียเป็นจำนวนมาก

ประมาณ 30% ของการผลิตทั่วโลก มาจากกลุ่มประเทศ BRIC (บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และจีน) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผลตอบแทนที่น่าประทับใจจากประเทศเหล่านี้ ตลาดเกิดใหม่ต่อไปนี้อยู่ในระยะเกิดใหม่เช่นกัน: เม็กซิโก เกาหลีใต้ โคลอมเบีย อินโดนีเซีย อียิปต์ ตุรกี และแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ตาม มูลค่ารวมของอินเดีย อินโดนีเซีย และบราซิลคิดเป็นมูลค่าน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของดัชนีตลาดเกิดใหม่

อินเดียเป็น ‘ดาวเด่น’ ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

"อินเดีย กำลังอยู่ในตำแหน่งที่ดีในฐานะผู้นำของกระแสลมใหม่ และน่าสนใจกว่าเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่สำคัญอื่น ๆ"

ตามรายงานล่าสุดของ World Bank เกี่ยวกับการพัฒนาของเศรษฐกิจอินเดีย มันแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นแม้จะมีสภาพแวดล้อมภายนอกที่ท้าทายก็ตาม ในขณะที่สภาพแวดล้อมของโลกกำลังย่ำแย่ลง รายงานที่มีชื่อว่า “Navigating the Storm” พบว่า เศรษฐกิจของอินเดียอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างดีในการรับมือกับการล้นทะลักของโลกเมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่

In 2022-23, เศรษฐกิจอินเดียจะมีการเติบโตต่ำกว่าในปี 2021-22 อันเป็นผลมาจากนโยบายการเงินที่เข้มงวด การชะลอตัวของการเติบโตทั่วโลก และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าอินเดียจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่ง

Auguste Tano Kouame ผู้อำนวยการ World Bank กล่าวว่า “แม้สภาพแวดล้อมภายนอกจะเลวร้ายลง แต่เศรษฐกิจของอินเดียยังคงฟื้นตัวได้ และปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคก็แข็งแกร่งกว่าเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ”


การก้าวกระโดดของ AI และระบบการเทรดอัตโนมัติ

ระบบการซื้อขายอัตโนมัติ (Automated trading system) เป็นเครื่องมือที่ดำเนินการซื้อขายตามกฎที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับการเข้าและออกจากสถานะการซื้อขายดังกล่าว เป็นที่ทราบกันดีว่าการเทรดอัตโนมัตินั้นเป็นที่นิยมใช้ในตลาดหุ้นมาช้านาน รายงานของ JPMorgan ในปี 2020 เปิดเผยว่า มากกว่า 60% ของการซื้อขายมากกว่า 10 ล้านดอลลาร์ดำเนินการโดยใช้อัลกอริทึม และการซื้อขายที่ดำเนินการโดย AI คาดว่าจะสูงถึง 19 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2024

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไม่ใช่ตลาดเดียวที่ได้รับประโยชน์จาก AI และระบบการซื้อขายอัตโนมัติ ตลาด Forex ก็เช่นกัน โดยเรากำลังเห็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในการซื้อขายด้วย AI ในตลาด Forex เนื่องจากมันดึงดูดด้วยขนาดของตลาดที่ใหญ่ที่สุดที่มีมูลค่าประมาณ $1.93 พันล้านเหรียญ โดยมีการซื้อขาย $7.5 ล้านล้านต่อวัน ธุรกรรมการซื้อขายที่ต่ำทำให้เหมาะกับการใช้งาน ‘ระบบการซื้อขายอัตโนมัติ’ และดึงดูดเทรดเดอร์หรือนักพัฒนาหน้าใหม่เข้ามาในตลาด

นักเทรด Forex เลือกที่จะพึ่งพา AI เพื่อช่วยลดภาระในการติดตามตลาด และอาจหมายถึงความเสี่ยงที่ลดลงด้วย ทั้งนี้ ความนิยมของการใช้ AI มาจากปัจจัย ได้แก่

  • ความพร้อมใช้งาน: เมื่อพูดถึงการซื้อขายด้วยบอท ผู้คนมักคิดว่าต้องเขียนอัลกอริทึมของตนเองด้วยโค้ดที่ซับซ้อน แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ทุกวันนี้ เทรดเดอร์สามารถเข้าถึงระบบเทรดอัตโนมัติได้อย่างง่ายดายผ่านชุมชนนักเทรด, ฟอรัม หรือแม้แต่เว็บไซต์โบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ออนไลน์บางแห่ง ที่อาจมีการแบ่งปัน “บอท” ที่มีอยู่ หรือแบ่งปันเครื่องมือที่ใช้พัฒนาบอทดังกล่าวโดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเป็น
  • ติดตั้งง่าย: Metatrader 4 และ 5 ได้ปฏิวัติการใช้ระบบการซื้อขายอัตโนมัติในการซื้อขายฟอเร็กซ์อย่างแท้จริง เทรดเดอร์เพียงต้องติดตั้งบอทที่ได้รับมา (ดาวน์โหลดมา) และเรียกใช้ ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน ดังนั้นใคร ๆ ก็สามารถใช้งานได้ แม้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เพียงเล็กน้อย
  • ประหยัดเวลา: การใช้ AI หรือบอทเทรด จะช่วยขจัดความจำเป็นที่จะใช้เวลาจำนวนมากในการวิเคราะห์ตลาดเพื่อให้นำหน้าคู่แข่ง ทำให้นักลงทุนไปโฟกัสที่การพัฒนาในด้านอื่น ๆ แทน

AI และระบบการซื้อขายอัตโนมัติ ถือเป็นอนาคตของการเทรดฟอเร็กซ์ มันมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักเทรดฟอเร็กซ์ที่ต้องการประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาร่วมในกลยุทธ์ ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา


Crypto ที่ใช้งานได้จริง

สงครามการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล (CBDC)

เงินไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาในรูปแบบจับต้องได้อีกต่อไป เรากำลังอยู่ในยุคดิจิทัลและธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกกำลังพิจารณาที่จะออกสกุลเงินดิจิทัลของตนเอง

สกุลเงินดิจิทัลในหัวข้อนี่เป็น “เวอร์ชันดิจิทัล” ของเงินสด เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ควบคุมโดยธนาคารกลาง เช่น ดอลลาร์ดิจิทัล หรือดิจิทัลหยวน แปลว่า “สกุลเงินดิจิทัลมูลค่า 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรมูลค่า 10 ดอลลาร์เสมอ” (ซึ่งแตกต่างจาก Cryptocurrency ในความหมายทั่วไปที่เป็น “สินทรัพย์ดิจิทัล” ที่พัฒนาโดยเอกชน) แต่ยังมีการถกเถียงกันค่อนข้างมากว่า ธนาคารกลางยังมีหน้าที่ในการออกและจัดการสกุลเงินดิจิทัลเพื่อควบคุมปริมาณเงินอยู่หรือไม่ หรือต้องมีแนวทางในการจัดการอย่างไร?

สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางปลอดภัยแค่ไหน?

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาดว่าจะเปิดตัวเงินยูโรดิจิทัลใน 27 ประเทศสมาชิกภายในกลางทศวรรษนี้ โดยอธิบายว่า เงินของธนาคารกลางเป็น “เงินที่รับประกันโดยรัฐโดยไม่มีความเสี่ยง”

เนื่องจาก CBDC นั้นถูกตรึงไว้กับสกุลเงินของประเทศนั้น ๆ จึงไม่มีความผันผวนของสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยเอกชน เช่น Bitcoin, Ether (Ethereum) หรือ XRP จากข้อมูลของธนาคารกลางสหรัฐ CBDC จะเป็น “สินทรัพย์ดิจิทัลที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับสาธารณชนทั่วไป โดยไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิตหรือสภาพคล่อง”

CBDC ทำงานอย่างไร?

ตามที่ธนาคารกลางระบุว่า สามารถใช้ CBDC เพื่อชำระเงินทุกอย่างแบบดิจิทัล ทำให้ประชาชนใช้เงินสดน้อยลง สกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้สามารถถือเป็นบัญชีหรือโทเค็นอิเล็กทรอนิกส์กับธนาคารกลาง สามารถใช้อุปกรณ์มือถือ บัตรเติมเงิน หรือกระเป๋าเงินดิจิทัลในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อเก็บโทเค็นอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ได้ ธุรกิจและสถาบันการเงินอื่น ๆ สามารถใช้ CBDC ได้เช่นกัน

มีกี่ประเทศที่พิจารณาใช้ CBDC

มีประมาณ 100 ประเทศได้แสดงความสนใจใน CBDC จากข้อมูลของ Digital Currency Tracker ของธนาคารกลางแอตแลนติก

ไนจีเรียในแอฟริกาและจาเมกาในทะเลแคริบเบียนเป็นประเทศที่เปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของตนเองแล้ว ในเดือนตุลาคม 2020 บาฮามาสกลายเป็นประเทศแรกในโลกที่เปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางที่เรียกว่า Sand Dollar ทั้งนี้ คาดการณ์กันว่า ภายในปี 2023 จีนจะเปิดตัว CBDC ของตัวเอง (ดิจิทัลหยวน)

หลายประเทศในกลุ่ม G20 ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น อินเดีย รัสเซีย และเกาหลีใต้ กำลังสำรวจสกุลเงินดิจิทัลที่จะออกโดยธนาคารกลางของตน ส่วนฝั่งสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรกำลังทำการวิจัยเกี่ยวกับ CBDCs แต่ยังไม่ได้ประกาศแนวทางการใช้งานแต่อย่างใด

รายงานจาก Reuters ระบุว่า ธนาคารกลางของสวีเดนและนอร์เวย์ เริ่มโครงการความร่วมมือกับธนาคารเอกชนต่าง ๆ ในการทดลองพัฒนาการชำระธุรกรรมระหว่างประเทศด้วยสกุลเงินดิจิทัล และได้มีการทดสอบครั้งสำคัญในเดือนกันยายน 2022, ธนาคารกลางอินเดียเปิดตัวโครงการนำร่องครั้งแรกสำหรับเงินรูปีดิจิทัล (e₹) -R) ในวันที่ 1 ธันวาคม 2022 ธนาคารจะแจกจ่าย e-rupee ซึ่งจะมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรและเหรียญจริง

Crypto Crash 2022 

ฤดูหนาวแห่งโลก Crypto

เราได้เห็นการร่วงลงอย่างรุนแรงของตลาด Crypto ครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยในช่วงหกเดือนแรกของปี 2022 การล่มสลายของ TerraUSD และ Luna ทำให้สกุลเงินดิจิทัลหลักทุกสกุลร่วงลงอย่างหนัก ตอนนี้เราอยู่ในช่วงสิ้นปีและมีอุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับตลาด Crypto คือ กระดานเทรดหลัก 2 แห่งกำลังยื่นล้มละลายในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งบริษัท Crypto หลายแห่งอยู่ในวงล้อมของผลกระทบดังกล่าว เช่น อาจเป็นผู้ได้รับเงินลงทุนจากกระดานเทรดที่ล้มละลายนั้น เป็นต้น

Bitcoin แม้จะเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 16,000 ดอลลาร์ในเดือนพฤศจิกายน เพียงหนึ่งปีหลังจากแตะจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 69,000 ดอลลาร์ในปี 2021 ปรับตัวลงมากกว่า 80% และสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ก็ปรับตัวร่วงลงอย่างรวดเร็ว มูลค่าตลาด Crypto ทั่วโลกลดลง 63.96% ในปีนี้ (อ้างอิงจาก Coingecko) ผลลัพธ์ทั้งหมดนำไปสู่วลี “Crypto Winter”

การล่มสลายของยักษ์ใหญ่คริปโต

การล่มสลายของ FTX

การลงทุนใน Crypto เป็นเรื่องท้าทาย และเหนือสิ่งอื่นใดคือการรักษาเงินของคุณให้ปลอดภัย “กระดานเทรดคริปโต” ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเหรียญคริปโตต่าง ๆ ตกเป็นเป้าโจมตีของแฮ็กเกอร์ โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราเห็นการสูญเสียเงินหลายล้านดอลลาร์จากการโจมตีดังกล่าว

ในเดือนพฤศจิกายน 2022 การล้มละลายของ FTX กลายเป็นประเด็นสำคัญที่สร้างความกังวลให้กับตลาด Crypto จนถึงวันที่ FTX ประกาศขอความคุ้มครองการล้มละลาย มูลค่าความเสียหายในครั้งนี้สูงถึง 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ สิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีผู้ใช้กล่าวหาว่า FTX ฉ้อโกงเงินฝากของลูกค้า และใช้วิธีการไม่ปกติในการควบคุมตลาด จนสุดท้าย CEO และผู้ก่อตั้งของ FTX ได้ประกาศลาออก นำมาซึ่งความตกต่ำของความน่าเชื่อถือในตลาด Crypto

ความกังวลเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียนของ FTX บังคับให้ FTX เลือกที่จะทำดีลขายกิจการให้ Binance ซึ่งเป็นกระดานเทรดคู่แข่งหลัก แต่ข้อตกลงก็ล้มเหลว ตามมาด้วยการยื่นฟ้องล้มละลาย FTX ซึ่งมีบริษัทในเครือมากกว่า 130 แห่ง และจดทะเบียนด้วยการประเมินมูลค่าสินทรัพย์รวมกันราว 1-5 หมื่นล้านดอลลาร์

โดมิโน่ของ “ผู้ให้กู้”

Lender หรือ “ผู้ให้กู้” ในโลก Crypto หลายคนมองว่าเป็น “ธนาคารของโลกคริปโต” เฟื่องฟูอย่างมากในให้บริการลูกค้ารายย่อยด้วยอัตราผลตอบแทนเงินฝากสูงถึงเลขสองหลัก และบาง Lender อาจให้ผลตอบแทนเงินฝากสูงถึง 20% ต่อปี

“Lending” หรือการให้ยืม Crypto หมายถึงการฝาก Cryptocurrency บนแพลตฟอร์มนั้น ๆ ไว้เป็นหลักประกัน และสามารถกู้ยืม Crypto ออกมาอีกจำนวนหนึ่ง โดยผู้กู้ต้องจ่ายดอกเบี้ย อาจเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน

อย่างไรก็ตาม หลังจากการล่มสลายของ FTX ส่งผลกระทบต่อ “Lender” ด้วย ตัวอย่างคือ “BlockFi” ได้ยื่นขอความคุ้มครองการล้มละลายแบบเดียวกับ FTX ในเดือนพฤศจิกายน BlockFi ออกแถลงการณ์ว่า “การดำเนินการนี้เป็นไปตามเหตุการณ์ที่น่าตกใจเกี่ยวกับ FTX และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นการตัดสินใจที่ยากแต่จำเป็นที่เราจะต้องหยุดกิจกรรมส่วนใหญ่บนแพลตฟอร์มของเรา”

“ตั้งแต่การหยุดกิจกรรมดังกล่าว ทีมของเราได้สำรวจทุกทางเลือกในเชิงกลยุทธ์และทางเลือกอื่นที่เรามี เรายังคงมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายหลักของเราในการทำให้ดีที่สุดสำหรับลูกค้าของเรา”

“กรณีต่าง ๆ ในบทที่ 11 (ขอคุ้มครองล้มละลาย) เหล่านี้จะช่วยให้ BlockFi สามารถสร้างเสถียรภาพให้กับธุรกิจและมอบโอกาสให้ BlockFi บรรลุแผนการปรับโครงสร้างองค์กรที่เพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดได้ รวมถึงลูกค้าผู้มีอุปการะคุณของเรา”

จากการยื่นฟ้องของศาล BlockFi มีเจ้าหนี้มากกว่า 100,000 ราย โดย FTX เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่อันดับสอง มีมูลค่า 275 ล้านดอลลาร์จากการกู้ยืมที่ขยายออกไปเมื่อต้นปีนี้ และหนี้สิ้นอีก 30 ล้านดอลลาร์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (SEC)

Blockfi ไม่ใช่รายเดียวที่ยื่นฟ้องล้มละลาย เช่นเดียวกับเมื่อต้นปีที่ผ่านมาในเดือนกรกฎาคม ผู้ให้กู้รายใหญ่ 2 รายของ Blockfi, Celsius Network และ Voyager Digital ก็ยื่นขอล้มละลายเช่นกัน เนื่องจากความเสียหายที่สำคัญของทั้งสองบริษัท อันเป็นผลจากสภาวะตลาดที่บีบคั้น

การไหลออกของเม็ดเงินในตลาด Crypto

การล่มสลายของกระดานเทรด FTX ก่อให้เกิดกระแสการไหลออกของเงินลงทุนจากตลาด Crypto เพียงหนึ่งสัปดาห์จากเหตุการณ์ดังกล่าว กองทุน Crypto ทั้งหมดประสบปัญหาการเทขายของนักลงทุน โดย Gemini, OKX และ Crypto.com ประสบปัญหารุนแรงที่สุด ตามรายงานของ CoinShares การไหลออกของเงินลงทุนดังกล่าว มีมูลค่าราว 23 ล้านดอลลาร์

“เราได้โต้เถียงกันเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เช่นเดียวกับที่เราเห็นหลังจากการล่มสลายของ TerraUSD เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ในช่วงของการ “ลดอัตราส่วนหนี้สิน” (Deleveraging) ในปัจจุบันที่เริ่มต้นจากการล่มสลายของ Alameda Research และ FTX มีแนวโน้มที่จะกดดันให้สถานะของนักลงทุนในช่วงสองสามสัปดาห์ถัดไป โดน Margin Call สิ่งนี้อาจนำไปสู่ความล้มเหลวของบริษัทหรือแพลตฟอร์มคริปโต” นักวิเคราะห์ของ JPMorgan กล่าว

แม้แต่ Bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในตลาด ก็มีเงินลงทุนไหลออก 742,401 BTCs ระหว่างวันที่ 9 ถึง 15 พฤศจิกายน ตามข้อมูลของผู้ให้บริการข้อมูลบนเครือข่าย CryptoQuant วันที่ 9 พ.ย. เป็นวันที่ไหลออกสูงสุด โดย มีเหรียญจำนวฯ 168,287 BTCs ถูกถอนออกจากกระดานซื้อขาย

การไหลออกของเม็ดเงินในตลาด Crypto

การสั่นคลอนของความน่าเชื่อถือ

ในอีกด้านหนึ่งของสกุลเงินดิจิทัลที่มีความผันผวนสูง เรามีเหรียญ Stablecoin เช่น USDT สกุลเงินดิจิทัลที่ผูกกับสินทรัพย์อื่น เช่น ผูกกับเงิน Fiat หรือทองคำ สกุลเงินเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รักษาเสถียรภาพของราคา เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ ที่มีความผันผวนสูง พวกมันถูกใช้เป็น “สกุลเงินคงที่” ในการจัดเก็บมูลค่าสำหรับเทรดเดอร์ในการเข้าและออกจากสถานะซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องแปลงเป็นสกุลเงินแบบ Fiat

Stablecoin ถือว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ Crypto อื่น ๆ ที่มีความผันผวนของราคาที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม การร่วงลงของ TerraUSD ซึ่งเป็นหนึ่งในเหรียญ Stablecoin ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ส่งคลื่นกระแทกไปทั่วตลาด สิ่งที่เรียกว่า Stablecoin กลับไม่เสถียร ซึ่งทำให้หลายคนสงสัยว่า Cryptocurrency ต่าง ๆ เป็นเพียงการหลอกลวงหรือการเก็งกำไรที่ไม่มีมูลค่าจริงหรือไม่?

มันได้สั่นคลอนความน่าเชื่อถือของ Crypto ลงอย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์ครั้งแล้วครั้งเล่าทำให้ผู้คนตั้งคำถามถึงความไว้วางใจในตลาดที่ไม่ได้รับการควบคุมและมีความผันผวนสูง นักลงทุนเรียกร้องหา กฎระเบียบเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและความโปร่งใส และหลีกเลี่ยงเหตุการณ์แบบ FTX ไม่ให้เกิดขึ้นอีก


ความตระหนักที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญในการลงทุน

การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ

เมื่ออัตราเงินเฟ้อกลายเป็นความกังวลหลักสำหรับทุกคนในปี 2022 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังใกล้เข้ามาแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เทรดเดอร์และนักลงทุนจะต้องพิจารณาการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ (Hedging)

การป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อถูกกำหนดให้เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ช่วยบรรเทาผลกระทบด้านลบของอัตราเงินเฟ้อและปกป้องนักลงทุนในช่วงเวลาที่ยากลำบาก นักลงทุนสามารถวางแผนรับมือกับอัตราเงินเฟ้อโดยมองหาประเภทสินทรัพย์ที่สามารถทำกำไรได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่นในช่วงที่เศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ

โดยทั่วไป อสังหาริมทรัพย์และสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำมักถูกพิจารณาว่าเป็นการลงทุนที่สามารถรักษามูลค่าและป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่ามูลค่าจะผันผวน แต่ในระยะยาว พวกมันมักจะรักษามูลค่าของมันไว้และป้องกันเงินเฟ้อได้ดี

การเทรด Forex ก็เป็นอีกทางเลือกที่ยอดเยี่ยมในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากตลาดฟอเร็กซ์มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวแตกต่างออกไปในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่น ๆ สกุลเงินจากประเทศเศรษฐกิจที่มีสถานะสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิที่แข็งแกร่ง (NFA) จะกลายเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เช่น ดอลลาร์สหรัฐ, เยนญี่ปุ่น และฟรังก์สวิส

การวางแผนอย่างรอบคอบและการทำความเข้าใจว่า สินทรัพย์ใดทำงานได้ดีสำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ ก็สามารถปกป้องคุณจากอัตราเงินเฟ้อที่เลวร้ายและทำให้พอร์ตโฟลิโอของคุณเติบโตได้

จำนวนนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น

ปี 2023 มีโอกาสจะเป็นช่วงขาลงของอุตสาหกรรมการเงินมากกว่าขาขึ้น อย่างไรก็ตาม ข่าวดีก็คือผู้คนหันมาเลือกการลงทุนมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะสำหรับคนรุ่นใหม่

การระบาดใหญ่ของ Covid-19 ได้เปลี่ยนทัศนคติของผู้คนที่มีต่อเงิน โดยเน้นที่ความจำเป็นในความยืดหยุ่นทางการเงินมากขึ้นเพื่อป้องกันตนเองจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ผู้คนจำนวนมากลงเงินไปกับการลงทุนมากกว่าการใช้จ่ายหรือความบันเทิง คนหนุ่มสาวยังให้ความสนใจในการจัดการทางการเงินและการลงทุนของพวกเขา (Personal Finance)

ปัจจัยอีกประการหนึ่งอาจเป็นผลมาจากยุคดิจิทัลของการลงทุน เนื่องจากการลงทุนทำได้ง่ายและสะดวกกว่าที่เคยเป็น โดยสามารถซื้อขายผ่านแอปการเทรดได้ตลอดเวลา

คนรุ่นใหม่ยังมีแนวโน้มที่จะมองหา “คำแนะนำทางการเงิน” บนโซเชียลมีเดีย โดยประเมินว่า 60% ของผู้ใช้ TikTok เป็นคนรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen-Z สิ่งนี้ทำให้เกิด FinFluencers ที่คนทั่วไปผันตัวมาเป็นผู้ให้คำแนะนำทางการเงินทั่วไปและข้อมูลแก่นักลงทุนทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อทางการเงินที่หลากหลายตั้งแต่การซื้อขายไปจนถึงการเงินส่วนบุคคล ปัจจุบัน ผู้คนสามารถค้นหาโพสต์นับล้านที่เกี่ยวกับการลงทุนบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมอย่าง TikTok หรือ Instagram ได้อย่างง่ายดาย ตั้งแต่ การเทรดหุ้น, สกุลเงินดิจิทัล หรือล่าสุดก็ NFT


สิ่งที่ต้องจับตาในปี 2023

  1. อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย

การแทรกแซงของธนาคารกลางเพื่อควบคุมแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น คาดว่าจะเป็นตัวกำหนดเส้นทางการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2023 ข่าวดีก็คือ อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มจะถึงจุดสูงสุดในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 การเติบโตที่ชะลอตัวและข้อจำกัดด้านอุปทาน ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มเย็นลง มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้ธนาคารกลางเริ่มเปลี่ยนแผน และยุติวงจรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่รุนแรงในปีนี้

ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษและความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ทั่วโลก ส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนอย่างมาก” รายงานเสถียรภาพทางการเงินทั่วโลกของ IMF เดือนตุลาคม 2022

FED ได้เพิ่มความเข้มงวดของนโยบายการเงินเร็วกว่าที่เคยเป็นมา และคาดว่าจะปรับขึ้นอีกค่อนข้างน้อย ก่อนที่จะหยุดพักภายในสิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2023 ธนาคารกลางคาดว่า จะปรับขึ้น 50 bp ในการประชุมเดือนธันวาคม ตามด้วย การปรับขึ้น 25 bp อีกสองครั้งในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ทำให้ปีหน้า อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ น่าจะอยู่ที่ 5% ซึ่งสูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ

  1. ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

คาดว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กำลังดำเนินอยู่จะเพิ่มความสับสนอลหม่านให้กับเศรษฐกิจ IMF ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2022 โดยอ้างถึงภัยคุกคามหลายประการ รวมถึงสงครามของรัสเซียกับยูเครน และอัตราดอกเบี้ยที่สูง

ตลาดยุโรปกำลังดิ้นรนกับวิกฤตพลังงานอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งเกิดจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ควบคู่ไปกับข้อจำกัดของห่วงโซ่อุปทานที่ดำเนินต่อไป และแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายลง

  1. การแข็งค่าของ USD

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแตะระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษในปี 2022 ท่ามกลางช่องว่างนโยบายการเงินที่กว้างขึ้นและกระแสเงินสดไหลเข้าไปยังสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ดัชนี DXY แตะระดับ 115 ในเดือนกันยายน โดยได้รับการสนับสนุนจากความเสี่ยงที่ทวีความรุนแรงขึ้นโดยรอบ แนวโน้มเศรษฐกิจโลก, อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น และโหมดการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หรือ Risk-Off ยิ่งทำให้เม็ดเงินหายไปจากตราสารการลงทุนต่าง ๆ

ตลาดโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงมากมาย ซึ่งรวมถึงการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ, ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผันผวน, ต้นทุนการกู้ยืมที่สูงและเงินเฟ้อที่สูงอย่างดื้อรั้น

การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่สำหรับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ธนาคารกลางหลายแห่งได้ตัดสินใจที่จะเข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศ หรือได้ส่งสัญญาณว่าพร้อมแล้วที่จะทำเช่นนั้น วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อจำกัดความผันผวนของสกุลเงินในประเทศและผลกระทบของราคานำเข้าที่สูงขึ้น

aximtrade
aximtrade broker