Aximdaily
Indicator คืออะไร

Indicator ยอดนิยมในตลาด Forex

การยึดอาชีพ “เทรดเดอร์” โดยเฉพาะในตลาด Forex เป็นเส้นทางที่หลายคนใฝ่ฝัน แต่ความหรูหราก็ต้องแลกมาด้วยการเอาชนะกับความยากลำบากในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเมื่อเทรดเดอร์ไม่สามารถประเมินทุกปัจจัยพร้อม ๆ กันได้ การใช้เครื่องมือวิเคราะห์เข้าช่วยก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และบทความนี้จะพูดถึง Indicator ในตลาด Forex ที่ได้รับความนิยม

Indicator คืออะไร?

Indicator คือ เครื่องมือสำคัญที่เทรดเดอร์ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อ, ขาย หรือถือครองสินทรัพย์หนึ่ง ๆ ซึ่ง Indicator เหล่านี้อยู่บนพื้นฐานของการคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยส่วนมากใช้เพื่อประเมินแนวโน้มของตลาดและลักษณะการเคลื่อนไหวของราคา

Indicator เหล่านี้สามารถใช้ร่วมกับหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ต่างเทคนิคได้ทั้งหมด และนิยมใช้ควบคู่กับ Dow Theory

Indicator ยอดนิยมต่าง ๆ มักมีคุณสมบัติที่หลากหลาย ใช้ประเมินแนวโน้มและจุดกลับตัวได้พร้อม ๆ กัน และจะแสดงกราฟิกขึ้นบนกราฟราคาให้เข้าใจง่าย ดังนั้น มือใหม่จึงไม่ต้องกังวลว่า จะไม่สามารถทำความเข้าใจ Indicator เหล่านี้ได้

ประเภทของ Indicator

เราอาจแบ่ง Indicator ยอดนิยมต่าง ๆ ในตลาด Forex ได้เป็น 4 ประเภท โดยแบ่งตามความสามารถในการวิเคราะห์ของมัน ได้แก่ Trend, Oscillator, Momentum และ Volatility อย่างไรก็ตาม Indicator แต่ละตัวก็อาจจัดอยู่ในกลุ่มที่ซ้ำซ้อนกันได้เหมือนกัน

Trend (บอกแนวโน้ม)

การวิเคราะห์แนวโน้ม คือเป้าหมายหลักของการวิเคราะห์ทางเทคนิค Indicator ในกลุ่ม Trend จะช่วยกรองและทำให้แนวโน้มภาพรวมของแนวโน้มและทิศทางราคาได้ชัดเจนขึ้น เครื่องมือในกลุ่มนี้จะมีพื้นฐานจาก “ค่าเฉลี่ย” ของราคาเกือบจะทั้งหมด เช่น

  1. Moving Average (MA)
  2. Ichimoku Kinko Hyo
  3. Parabolic SAR

Oscillator (วัดการแกว่ง)

“ออสซิลเลเตอร์” คือเครื่องมือตรวจจับวัฏจักร ซึ่งจะระบุสภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) และการขายมากเกินไป (Oversold) ทำให้เทรดเดอร์สามารถประเมินจุดกลับตัวของราคาในระยะสั้นได้ ตัวอย่างเครื่องมือในกลุ่มนี้

  1. Stochastic Oscillator
  2. CCI Indicator
  3. Moving Average Convergence Divergence (MACD)

Momentum (โมเมนตัม)

โมเมนตัมคือการประเมินความแข็งแกร่งของราคา เป็นเครื่องมือช่วยยืนยันว่า แนวโน้มที่เกิดขึ้นจะสามารถต่อไป, ต่อได้ไกลขนาดไหน หรือใกล้จะกลับตัวแล้ว ตัวอย่างเครื่องมือในกลุ่มนี้ เช่น

  1. Relative Strength Index (RSI)
  2. ADX (Average Directional Index)

Volatility (ประเมินความผันผวน)

Indicator กลุ่มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อแยกแยะสภาวะของความผันผวนของราคาโดยเฉพาะ ซึ่งความผันผวนที่แตกต่างกัน จะนำไปสู่การประยุกต์ใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันด้วย เครื่องมือในกลุ่มนี้อาจมีชื่อคุ้น ๆ ไม่กี่ชื่อ ได้แก่

  1. Average True Range (ATR)
  2. Bollinger Bands
  3. Chaikin Volatility Indicator

รวมรายชื่อ Indicator ยอดนิยมในตลาด Forex

Moving Average (MA)

Moving Average (MA) คือ Indicator หลักในการวิเคราะห์แนวโน้มราคา โดยคำนวณข้อมูล “ค่าเฉลี่ยของข้อมูลราคา” และแสดงออกมาเป็นเส้นค่าเฉลี่ยลงบนกราฟราคา ถือว่าเป็น Indicator ยอดนิยมอันดับหนึ่ง! เนื่องจากมีความเอนกประสงค์และใช้งานง่าย

MA เหมาะกับการเทรดระยะยาวเป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้เทคนิคกรองความผันผวนของราคาออกไป ทำให้มองเห็นแนวโน้มภาพใหญ่ได้ชัดเจน

MA คือหนึ่งใน Indicator ยอดนิยมในตลาด Forex

นอกจากนี้ MA ยังใช้เป็นเครื่องมือกำหนดจังหวะการเทรด โดยอาจใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน รวมถึงแนวโน้มโดยรวม ทั้ง MA สามารถกำหนดระยะเวลา (Period) ในการคำนวณได้ ยิ่งกำหนดระยะเวลานาน เช่น Period-200 ก็หมายถึง การโฟกัสการวิเคราะห์ไปที่แนวโน้มในภาพใหญ่

Moving Average ยังสามารถเลือกปรับแต่งการคำนวณตามความถนัดของเทรดเดอร์แต่ละคนได้

  1. Simple (SMA): เป็นการสร้างเส้นค่าเฉลี่ยจากสูตรการหาค่ากลางทางสถิติโดยทั่วไป
  2. Exponential (EMA): คือการประยุกต์ SMA แต่เฉลี่ยการคำนวณไปที่ราคาในวันใกล้กับราคาปัจจุบันมากขึ้น
  3. Weighted (WMA): หลักการเดียวกับ EMA แต่เราสามารถเลือกกำหนดได้ว่าจะถ่วงน้ำหนักกับข้อมูลประเภทใดมากที่สุด เช่น Close, Open เป็นต้น

Fibonacci Retracement

Fibonacci Retracement ใช้เพื่อวัดว่า “ราคาที่เคลื่อนไหวสวนทิศทางหลัก” จะสามารถเคลื่อนต่อไปได้ไกลขนาดไหน โดยวัดเป็น % การย่อตัวของราคา ซึ่งอัตรา % ดังกล่าวมาจากเลข Fibonacci และเลขที่สำคัญ ได้แก่ 23.6%, 38.2%, 50%, 61.8% และ 78.6% หรือกล่าวได้ว่า Fibonacci Retracement ถูกใช้เป็นแนวรับ-แนวต้าน นั่นเอง

Bollinger Bands

Bollinger Bands ใช้วัดความผันผวน ซึ่งจะสร้างกรอบราคาขึ้นมา ประกอบด้วย Upper-Band และ Lower-Band โดยเทรดเดอร์จะประยุกต์ใช้กรอบดังกล่าวเป็นสัญญาณซื้อขาย รวมถึงประเมินทิศทางราคาในภาพใหญ่

Relative Strength Indicator (RSI)

RSI เป็นหนึ่งใน Indicator ยอดนิยมตลอดกาลของทั้งสาย Forex, Crypto หรือหุ้น แนวคิดของ RSI คือการทำดัชนีให้เข้าใจง่ายโดยมีเพียง 0 – 100 ทำให้การอ่านค่าทำได้ง่าย กล่าวคือ RSI ที่ต่ำกว่า 30 อาจหมายถึง ราคาถูกเทขายมากเกินไป และดัชนี RSI ที่สูงกว่า 70 ก็อาจแปลว่า มีการไล่ซื้อมากเกินไปแล้ว

RSI

Stochastic

Stochastic มีหลักการใช้งานคล้าย RSI มาก ต่างกันแค่หลักการคำนวณเบื้องหลัง และโซนชี้วัดสภาวะ “Over” คือ 20 กับ 80

Stochastic

Average True Range (ATR)

ATR ใช้เพื่อวัดความผันผวนของราคา โดยจะคำนวณหาสิ่งที่เป็น “ช่วงราคาที่แท้จริง” (ค่าสถิติที่เป็นตัวแทนของความผันผวน) ระหว่างราคาสูงสุดและราคาต่ำสุด – ดัชนี ATR ต่ำ แปลว่า ความผันผวนโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ

Moving Average Convergence and Divergence (MACD)

MACD เป็นอีกเครื่องมืออเนกประสงค์ที่ใช้ดูแนวโน้มราคา และสามารถวัดความแข็งแกร่งของราคาไปพร้อม ๆ กันได้ อีกทั้งยังพัฒนา Histogram ที่เอาไว้อธิบายลักษณะการเคลื่อนไหวของ Movning Average ให้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การใช้ MACD เพื่อหา Divergence ในการระบุจุดกลับตัว

MACD

Pivot Point

Pivot Point เป็นเครื่องมือสำเร็จรูปในการประเมินความสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งคำนวณจากค่าเฉลี่ยของความผันผวนของราคานั่นเอง โดยเทรดเดอร์จะใช้เป็นตัวกำหนดแนวรับ-แนวต้าน เพื่อใช้ในการระบุจุดเข้าเทรด

Heiken Ashi

Heiken Ashi ถือว่า แปลกว่า Indicator อื่น ๆ โดยมันจะเปลี่ยนรูปแบบของกราฟแท่งเทียน ให้เหลือแต่สีเพียง 2 สี เช่น เขียว-แดง ซึ่งหลักการคือการคำนวณค่าเฉลี่ยของราคานั่นเองว่า ภาพรวมเป็นทิศทางขาขึ้นหรือขาลง หากช่วงเวลานั้นเป็นขาขึ้น ก็จะเปลี่ยนทั้งชุดเป็น “สีเขียว” เป็นต้น

DeMarker Indicator

DeMarker ถูกพัฒนาโดย Thomas DeMark หนึ่งในนักวิเคราะห์ทางเทคนิคแห่งยุคบุกเบิก พยายามผนวกการนับจำนวนของกราฟแท่งเทียนเข้ากับค่าเฉลี่ย และแสดงออกมาเป็นสัญญาณกลับตัว DeMaker ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่แม่นยำสูงมาก แต่ก็ต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของความผันผวนที่มากเช่นกัน

Standard Deviation

Standard Deviation (S.D.) ในทางสถิติ คือ ข้อมูลที่เกิดขึ้นได้น้อย เช่น ราคาบวกติดต่อกัน 3 วัน, 7 วัน เป็นต้น ซึ่งการประยุกต์ใช้ คือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้น้อย เทรดเดอร์ก็ต้องเลือกทำสิ่งที่ตรงข้าม เช่น หากราคาบวกมา 7 วัน ก็แปลว่า อาจถึงเวลาที่ต้อง Sell สวนทิศทางเดิมกลับไป โดย S.D. เป็นพื้นฐานของ Bollinger Bands

Bull Power Bear Power

Bull = พลังกระทิง, Bear = พลังหมี โดยแนวคิดของ Bull Power Bear Power คือการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง High และ Low ของราคา เพื่อประเมินว่า ทิศทางของฝั่ง Buy หรือ Sell มีกำลังมากกว่ากัน หรือมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด

Relative Vigor Index (RVI)

RVI มีหลักการทำงานคล้ายกับ Relative Strength Index (RSI) แต่ต่างกันตรงที่วัดขนาดของการเปลี่ยนแปลงของราคาปิดเทียบกับช่วงความผันผวนของราคาในช่วงเวลาเดียวกัน แทนที่จะเปรียบอัตราการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคา ดังนั้น เทรดเดอร์ที่ให้น้ำหนักกับ “ความผันผวน” มักเลือกใช้ RVI มากกว่า

Envelopes

Envelope คือการประยุกต์ Moving Average และหลักการของ Standard Deviation แต่ให้น้ำหนักกับการคำนวณ Moving Average มากกว่า โดยเพิ่มเส้นค่าเฉลี่ยเป็น 2 เส้น

Commodity Channel Index (CCI)

CCI เคยเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ในสมัยก่อน ซึ่งจะใช้ดัชนี -100, 100+ เพื่อประเมินจุดกลับตัวของราคา แต่การมาถึงของ RSI ทำให้ความนิยมในการใช้งาน CCI ลดลงค่อนข้างมาก เนื่องจาก RSI ใช้งานได้สะดวกกว่า และมีความหลากหลายมากกว่า

ADX Indicator

ADX ย่อมาจาก Average Directional Index เป็นเครื่องมือใช้ในการวิเคราะห์ความแข็งแกร่งของแนวโน้มตลาด โดย ADX สร้างดัชนีเฉพาะเพื่อแทนแต่ละช่วงเวลาของราคา และจะนำแต่ละช่วงเวลามาเปรียบเทียบกันเพื่อหาว่า ราคาปัจจุบันแข็งแกร่งหรืออ่อนแอกว่าช่วงที่ผ่านมา

Parabolic SAR

Parabolic SAR หรือ “Parabolic Stop and Reverse” เป็นเครื่องมือกลุ่ม Trend ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดหุ้น จุดเด่นคือมันคำนวณจุด Stop Loss & Take Profit ล่วงหน้าให้เรา ดังนั้น ในช่วงที่ตลาดมีแนวโน้ม เทรดเดอร์สามารถใช้ Parabolic SAR ในการกำหนดจุดเข้าซื้อได้โดยมี Stop Loss ที่แคบมาก

ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้ Indicator

ในเบื้องต้นอาจต้องพยายามเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับ Leading vs Lagging Indicator ซึ่งหมายถึง Indicator ที่คำนวณจากราคา โดยเฉพาะ “ค่าเฉลี่ย” ถือว่าเป็น Lagging หรือ “มีความช้า” เพราะราคาจะเคลื่อนไหวไปก่อนแล้ว Indicator จึงจะคำนวณเสร็จ ดังนั้น ในเบื้องต้นต้องเข้าใจก่อนว่า Indicator ไม่ใช้ข้อมูลที่จะสามารถ “Leading” สัญญาณได้!

หมั่นฝึกฝนการใช้ Indicator อยู่เสมอ

การใช้ Indicator ในการเทรด ไม่ได้มีหลักการตายตัว สิ่งสำคัญคือคุณต้องหมั่นฝึกฝน และทดสอบการใช้งานอยู่เสมอ

  1. เลือก Indicator ที่เหมาะสมสำหรับกลยุทธ์การซื้อขายของคุณ โดยต้องทราบว่า การเทรดของเราเป็นแนวทางไหน เช่น Trend, Volatility หรือ Scalping รวมถึง เป็นนักเทรดที่เน้น Timeframe ใดเป็นหลักไหม?
  2. ทดสอบการตั้งค่าของ Indicator ต่าง ๆ ให้หลากหลายมากขึ้น เพราะแต่ละคนจะมองตลาดไม่เหมือนกัน คุณไม่จำเป็นต้องใช้ค่า 14 ตามที่แพลตฟอร์ม MT4 กำหนดมาให้
  3. การทำ Backtest หรือทดสอบการซื้อขายย้อนหลังว่า Indicator แต่ละตัว ทำผลงานได้ดีไหม? หรือเรามีแนวคิดการเทรดที่ถูกต้องหรือยัง? เช่น การลองใช้ RSI กับตลาดเป็น Trend หรือ Sideway สลับกัน
  4. พัฒนาหลักการคุมความเสี่ยงที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ และฝึกปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

▶ ทดลองเทรดกับ AximTrade

สุดท้ายแล้ว Indicator ก็เป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถประเมินสภาวะตลาดได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงแนะนำให้ทดลองใช้งานโบรกเกอร์ AximTrade เพราะต่อให้เราลอง Backtest มามากขนาดไหน ก็ยังไม่สามารถเทียบกับสถานการณ์จริงได้ เพราะการ Backtest ไม่มีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ตลาดจริงจะทำให้คุณมองเห็นตัวเองมากยิ่งขึ้น เข้าใจถึงสภาวะกดดันและจิตวิทยาของตลาดได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากคุณยังไม่พร้อมที่จะรับแรงกดดันจากตลาดจริงได้ ทางเลือกของการพัฒนาฝีมือคือการเปิดบัญชี Demo Account หรือบัญชีทดลอง ซึ่งจะจำลองเงินให้คุณให้ลองเทรดในสถานกาณ์จริง มันจะทำให้คุณเรียนรู้กลไกการทำงานของตลาดได้ดีมากยิ่งขึ้น เปิดบัญชีทดลองฟรี คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง!

aximtrade
aximtrade broker