คำว่า “เงินเฟ้อ” ถูกกำหนดให้เป็นศัตรูตัวร้ายของระบบเงินตราและอะไรที่เกี่ยวกับ ‘Personal Finance’ หรือวิชาการเงินส่วนบุคคล และมันถูกพูดถึงอย่างมากหลังเกิดวิกฤตโรคระบาด Covid-19 ซึ่งพยายามอธิบายว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นต้นเหตุของเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อถูกอธิบายว่าเป็นการลดลงของมูลค่าของเงินตราที่เราถือครองอยู่ แต่อยู่ดี ๆ เงินของเราจะเสื่อมมูลค่าลงได้อย่างไร ต้นเหตุของเงินเฟ้อจริง ๆ แล้วคืออะไร เกิดจากโรคระบาดจริงหรือเปล่า หรือสรุปแล้ว เงินเฟ้อ คืออะไรกันแน่? บทความนี้จะพาไปหาคำตอบ
เงินเฟ้อ คืออะไร?
เงินเฟ้อ คือ สภาวะที่เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าและบริการในชีวิตประจำ (General Goods & Services) ซึ่งแปลว่า “เงินเท่าเดิม” จะซื้อสินค้าได้น้อยลง ดังนั้น เงินเฟ้อคือสิ่งที่ทำให้กำลังซื้อของผู้คนในระบบเศรษฐกิจลดต่ำลง (Purchasing Power) เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิต แต่ทั้งนี้ เงินเฟ้อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมดาในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
พื้นฐานของ “เงินเฟ้อ” คือการที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม มักมีการอธิบายอย่างง่ายว่า “เงินเฟ้อคือสภาวะที่เงินเสื่อมค่า” ซึ่งอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเงินเฟ้อ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว “เงินไม่ได้เสื่อมด้วยตัวของมันเอง” แต่มูลค่าลดลงเพราะมีการเปรียบเทียบกับราคาสินค้าในระบบเศรษฐกิจ

สาเหตุของเงินเฟ้อ เกิดจากอะไรได้บ้าง?
เงินเฟ้อยังเป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้หลักการของอุปสงค์และอุปทาน (Demand & Supply) ในวิชาเศรษฐศาสตร์ เดิมทีสาเหตุของเงินเฟ้ออาจพิจารณาได้หลัก ๆ 2 ประการ
- Demand – Pull Inflation | หรือความต้องการในสินค้า
- Cost – Push Inflation | ปัญหาจากปริมาณสินค้าในระบบเศรษฐกิจ
เงินเฟ้อที่เกิดจาก “ความต้องการ”
เงินเฟ้อที่เกิดจาก Demand หรือ Demand-Pull inflation คือ การเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าหรือบริการในตลาดที่เกิดจากแรงกระตุ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค เมื่อความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น เพราะผู้ผลิตจะค่อย ๆ เพิ่มราคาสินค้าเพื่อเพิ่มส่วนต่างกำไร และจะเพิ่มไปจนกว่าถึงจุดที่ผู้บริโภคเริ่มรู้สึกว่า “แพง”
เงินเฟ้อ (ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น) ที่เกิดจาก Demand – Pull Inflation มักเป็นลักษณะของ “ความนิยม” ในตัวสินค้าเอง เป็น “เงินเฟ้อดี” ที่ทำให้ ตัวเลข GDP เติบโตขึ้นอย่างมั่นคง เป็นเงินเฟ้อที่ไม่ได้มีพื้นฐานมาจากต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการ ซึ่งแตกต่างจากประเภท “Cost – Push Inflation”
เงินเฟ้อที่เกิดจาก “ต้นทุน”
Cost คือ “ตุ้นทุน” ดังนั้น Cost-Push inflation จึงหมายถึง เงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของราคาต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการ ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจาก ราคาวัตถุดิบ (โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ Commodity ต่าง ๆ), ค่าแรงของพนักงาน, ต้นทุนพลังงานและการขนส่ง ฯลฯ
เงินเฟ้อส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร
ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อประชาชน
ประชาชนจะรายจ่ายหรือค่าครองชีพสูงขึ้นที่ ทำให้สามารถซื้อขายจับจ่ายสินค้าได้น้อยลง รายได้ที่หามาจะไม่สามารถดำรงเลี้ยงชีพได้ เพราะเงินเดือนมักไม่ได้เติบโตตามเงินเฟ้อ ผลตอบแทนของบัญชีเงินฝากก็จะลดน้อยลง ทำให้บุคคลที่ไม่ได้มีทักษะในการลงทุนจะเกิดความยากลำบากมากขึ้น
สิ่งเหล่านี้จะผลักดันให้คนจำนวนมาก เลือกที่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นสินทรัพย์ที่อยู่ในเกณฑ์ “ปลอดภัย” แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นสินทรัพย์ทางการเงินก็มีความเสี่ยงทั้งสิ้น บุคคลจำนวนมากอาจเลือกลงทุนในจังหวะที่สินทรัพย์มีราคาแพงเกินไปจนขาดทุน สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายกำลังซื้อ และส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม
ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อธุรกิจ
แน่นอนว่าในมุมของธุรกิจ ก็มีภาพที่ทับซ้อนกับฝั่ง “ประชาชน” พร้อมเมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นจากแรงกดดันของเงินเฟ้อ พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะขายสินค้าได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดการชะลอการผลิต เพราะหากดื้อดึงที่จะผลิตออกไป ก็มีแต่จะขาดทุนเสียเปล่า แล้วเมื่อไหร่ได้ของผู้ประกอบการลดลง จะนำไปสู่การเลิกจ้างในที่สุด!
สินทรัพย์สำหรับการลงทุนในสภาวะเงินเฟ้อ
ข้อเท็จจริงหลัก ๆ เกี่ยวกับ ‘เงินเฟ้อ’ คือมันมูลค่าของมันไม่ได้โตตาม “ค่าใช้จ่าย” ในโลกที่มันอยู่ เมื่อเวลาผ่านไป สินค้าต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้น และ “ต้องใช้ปริมาณเงินมากขึ้น” นี่อาจกล่าวได้เช่นกันว่า เงินเฟ้อ คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่กระตุ้นให้มนุษย์ในระบบทุนนิยม จำเป็นต้องออมเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับการลงทุน “เพื่อต้องการให้จำนวนเงินเกิดการงอกเงย”
เราอาจจะสังเกตได้ว่า แนวคิดพื้นฐานของคนในระบบทุนนิยม (ที่อาจไม่ได้ศึกษาเรื่องสินทรัพย์ทางการเงิน) จะเน้นลงทุนไปกับ “วัตถุที่มีความถาวร” ต่าง ๆ หรือสินทรัพย์ที่สามารถคงทนอยู่ในระยะยาวได้ ที่ทุกคนเชื่อมั่นแบบนั้นก็เพราะตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในระบบเศรษฐกิจ ที่สินค้าทุกอย่างแพงมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นสินทรัพย์ก็ควรแพงขึ้นในระยะยาว!
▶ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าในระยะยาว?
สินทรัพย์ที่สามารถปกป้องกำลังซื้อจาก “เงินเฟ้อ” ต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีความต้องการของประชาชนในระยะยาวด้วย เช่น ทองคำ, ที่ดิน แม้เวลาจะผ่านไป
สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีค่าอยู่ หรือแม้แต่ “พระเครื่อง” ที่แม้จะไม่ได้มีมูลค่าในประเทศอื่น ๆ แต่เพราะประเทศไทยยังมีกลุ่มคนที่นิยมเช่าหากันมาเป็นเจ้าของ ซึ่งอยู่พื้นฐานของความเชื่อทางศาสนาพุทธ อันเป็นประวัติศาสตร์เฉพาะตัวของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักลงทุนแล้ว สิ่งที่สามารถ “การันตี” และต่อกรกับเงินเฟ้อในระยะยาวได้อย่างแท้จริง คือ “สินทรัพย์ทางการเงิน”
เงินเฟ้อกับสินทรัพย์ทางการเงิน
สินทรัพย์ทางการเงินแทบจะเป็นทางออกเดียวของสำหรับพนักงานทั่ว ๆ ไปในระบบทุนนิยม หากพวกเขาไม่ทำธุรกิจเพื่อเพิ่มรายได้ การลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้ในระยะยาว คือวิธีการที่จะสามารถสร้างอิสรภาพทางการเงินได้อย่างแท้จริง
ลองพิจารณาตัวอย่างจากกราฟผลตอบแทนของสินทรัพย์ทางการเงินพื้นฐานด้านล่าง ซึ่งในภาพเป็นผลตอบแทนของดัชนีตลาดหุ้น S&P 500, ตลาดหุ้นดาวโจนส์ ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ผู้ออมเงินอาจจะได้ผลตอบแทนเรา 100 – 300% (1-3 เท่า) ซึ่งในความเป็นจริง นักลงทุนอาจได้ผลตอบแทนมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้

หากคุณแบ่งเงินมาลงทุนทุก ๆเดือนในกองทุนรวมที่อ้างอิงกับดัชนีตลาดหุ้นหลัก ๆ ของโลก เงินลงทุนของคุณก็จะเติบโตขึ้น ซึ่งสินทรัพย์ทางการเงินที่มีคุณภาพ มักมีแนวโน้มที่จะเติบโตเอาชนะเงินเฟ้อได้แบบเท่าตัว!
▶ เปิดบัญชีลงทุนที่ไหนดี?
เมื่อคุณตระหนักได้ถึงความรุนแรงของสภาวะเงินเฟ้อแล้ว สิ่งที่คุณต้องเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ คือความรู้ในการลงทุนและการเลือกสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมถึงโบรกเกอร์การลงทุนที่คุณไว้ใจได้ ทั้งนี้ โบรกเกอร์ AximTrade ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์คุณภาพ เช่น ทองคำ, น้ำมัน รวมถึง Forex CFD
โดย AximTrade มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการซื้อขายให้เป็นมิตรต่อนักลงทุนมากที่สุด การพัฒนาแพลตฟอร์มที่ช่วยให้นักลงทุนเข้าถึงเป้าหมายการลงทุน เช่น CopyTrade หรือระบบบัญชีทดลอง (Demo Account) ที่ให้นักลงทุนสามารถฝึกฝนการลงทุนได้ด้วยตนเองจนกว่าจะชำนาญ โดยไม่ได้มีการบังคับหรือมีเงื่อนไขพิเศษที่นักลงทุนจะต้องฝากเงินลงทุนเข้ามาก่อน ท่านที่สนใจทดลองใช้งานแพลตฟอร์มสามารถกดได้ที่ปุ่มด้านล่าง!