หากคุณค้นพบบทความนี้ นั่นย่อมหมายความว่า คุณน่าจะรู้จักเกี่ยวกับการเทรดหุ้นต่างประเทศ, ทองคำออนไลน์หรือคู่สกุลเงิน (Forex) มาบ้างแล้ว เพราะโปรแกรม MetaTrader หรือ MT4 คือโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการเทรดในปัจจุบัน
แต่สำหรับมือใหม่อาจจะยังไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกับ MT4 มากนัก ดังนั้น บทความนี้จะสอนตั้งแต่เริ่มต้นที่ว่า MT4 คืออะไร, ประวัติความเป็นมาเป็นอย่างไร และปิดท้ายด้วยคู่มือการใช้งาน MT4 ในหมวดต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การเทรดของคุณสะดวกสบายมากขึ้น!
สารบัญ
MT4 คืออะไร?
MT4 หรือชื่อเต็มว่า “MetaTrader 4” คือ แอปพลิเคชันซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งนิยมใช้สำหรับการเทรดสกุลเงิน (Forex), ทองคำ, สกุลเงินดิจิทัล ฯลฯ โดยมีให้บริการทั้งแบบ PC, MAC รวมถึงสมาร์ทโฟนทั้งในระบบ iOS และ Android โดย MT4 ถือเป็นแพลตฟอร์มแรกที่เปิดให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งระบบและเขียนสคริปต์คำสั่ง (Indicator & EA) สำหรับการใช้งาน MT4 ได้อย่างอิสระ ซึ่งเป็นจุดเด่นหลักของ MT4 ที่ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

ความเป็นมาของ MetaTrader 4
MetaTrader 4 ถูกพัฒนาโดยบริษัท MetaQuotes Software และเปิดให้ใช้งานเป็นครั้งแรกในปี 2005 ซึ่งถือเป็น “ปีปฏิวัติ” ของอุตสาหกรรมซื้อขายหลักทรัพย์
เพราะหลังจากในปี 2002 ที่ ASIC (Australian Securities and Investments Commission) ได้ยอมรับให้ CFD เป็นหนึ่งใน “ตราสารทางการเงิน” ที่ได้รับการรับรองและอนุญาตให้มีการทำธุรกิจโบรกเกอร์ CFD ในดินแดนภายใต้ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายของออสเตรเลียได้ – MT4 ถือเป็นแพลตฟอร์มแรกที่ได้รับการยอมรับจากนักเทรดว่า “สมบูรณ์แบบมากที่สุด” สำหรับการเทรด CFD และคู่เงิน Forex
และนั่นก็ทำให้อุตสาหกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ในออสเตรเลียเติบโตขึ้นอย่างมาก โดยโบรกเกอร์ Forex & CFD ที่ก่อตั้งขึ้นมาในช่วงหลังปี 2008 – 2009 (ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน) โบรกเกอร์เหล่านั้นก็มักจะเลือกใช้ MT4 เป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับการซื้อขาย เพราะว่า MT4 คือแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การเทรดในระดับสูง รวมถึงการ Hedging และการ Short หุ้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการบริหารพอร์ตมากยิ่งขึ้นหากเกิดวิกฤตอีกครั้ง
MetaTrader 4 หลอกลวงไหม?
MetaTrader 4 จะไม่มีการหลอกลวงใด ๆ เนื่องจากมันเป็นเพียง “ซอฟแวร์” สำหรับการซื้อขายเท่านั้น และการที่มันจะส่งคำสั่งซื้อขายที่ผูกกับเงินลงทุนของเราได้นั่น จะต้องเชื่อมต่อกับบัญชีของโบรกเกอร์ Forex & CFD ต่าง ๆ หรืออธิบายอย่างง่าย ๆ – MT4 คือโปรแกรมกลาง (ที่ใช้ในทุกโบรกเกอร์) ส่วนเซิร์ฟเวอร์และการส่งคำสั่งซื้อขายจะเป็นการดำเนินการของโบรกเกอร์
ดังนั้น ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนว่า “MT4” กับ “โบรกเกอร์” เป็นคนละอย่างกัน และสิ่งสำคัญคือคุณต้องรู้ว่า จะเลือกโบรกเกอร์ที่ไว้ใจได้อย่างไร แนะนำอ่านบทความ วิธีการเลือกโบรกเกอร์ Forex ในประเทศไทย ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดทั้งหมดรวมถึงใบอนุญาตต่าง ๆ
จุดเด่นของ MT4
แน่นอนว่า MT4 ถูกออกแบบมาให้เป็น “โปรแกรมซื้อขายหลักทรัพย์” ซึ่งสามารถเทรดได้ทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าโบรกเกอร์ที่คุณให้บริการนั้นจะมีสินค้าอะไรให้เทรดบ้าง ขอยกตัวอย่างในโบรกเกอร์ AximTrade ที่คุณสามารถเทรดสินค้าได้ถึง 7 ประเภท ได้แก่ สกุลเงิน, ทองคำ, น้ำมัน, ดัชนีหุ้น, เหรียญคริปโต, หุ้นต่างประเทศรายตัว และสินค้าโภคภัณฑ์
แต่อย่างที่เกริ่นไปในประวัติของ MT4 แล้วว่า การเทรดใน MT4 จะเป็นการเทรดแบบ CFD ดังนั้นหากเราทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับระบบ Lot ของ CFD มาก่อน จะทำให้เราเข้าใจวิธีการทำงานของ MT4 ได้ง่ายขึ้นด้วย ซึ่งอ่านได้ในบทความ “CFD คืออะไร” แต่ทั้งนี้ ในหัวข้อนี้เราจะแนะนำวิธีการใช้งาน MT4 โดยภาพรวม ๆ ก่อน โดยเฉพาะวิธีการเปิดออเดอร์ Buy, Sell
สามารถใช้ MT4 ซื้อหุ้นได้
มีคำถามเยอะมากกว่า MT4 สามารถใช้ซื้อหุ้นได้ไหม? ภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างจริงจากบัญชี Demo (บัญชีทดลอง) ที่ทดสอบการซื้อหุ้น CFD ให้ชมเป็นตัวอย่าง

- ส่วนนี้เรียกว่า Market Watch จะเป็นสินค้าต่าง ๆ ที่เราเป็นคนเลือกเอามาใส่ไว้ในหน้าต่างเพื่อที่จะติดตามราคาได้ง่าย ๆ
- หน้าต่าง Symbols จะให้คุณเลือกสินค้าทั้งหมดที่โบรกเกอร์มีให้เทรด แน่นอนว่ามีทั้งหุ้นต่างประเทศสำคัญ ๆ ทั้ง Apple, Visa, Boeing เป็นต้น ซึ่งเมื่อเลือกจากหน้าต่างนี้มันจะไปปรากฏใน Market Watch ในข้อ [1]
- ในส่วนนี้เราได้จำลองให้เห็นว่า MT4 ซื้อหุ้นได้จริง ๆ โดยเราได้ทำการทดลองซื้อหุ้น Pzifer และ Citi อย่างละ 2 Lot (Lot ละ 100 หุ้น, ศึกษาเพิ่มเติมในบทความ CFD คืออะไร)
- จะเห็นว่าตรงนี้จะแสดงกำไรขาดทุนของหุ้นที่เราซื้อขาย
บอทเทรดอัตโนมัติ (EA)
จุดเด่นของ MT4 ที่เป็นตัวชูโรงในช่วงแรก ๆ ที่เปิดตัว คือ “Trading Bot” หรือในภาษาชาว MT4 จะเรียกว่า “Expert Advisor” (EA) ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ฟรี ๆ คุณสามารถค้นหาและดาวน์โหลด “บอท” จากกระดานสาธารณะ ซึ่งผู้พัฒนาต่าง ๆ มักนำมาแจก โดยคุณสามารถทดสอบ EA เหล่านั้นก่อนใช้งานจริงได้ ภาพด้านล่างคือตัวอย่างการทดสอบผลกำไรของ EA แบบง่าย ๆ

ภาพด้านบนคือตัวอย่างการทดสอบผลกำไรของ EA แบบง่าย ๆ ที่สามารถดาวน์โหลดได้จากกระดานสาธารณะของ MT4 ที่เรียกว่า MQL Market ซึ่งมีทั้ง EA และ Indicators ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ให้เลือกใช้งาน และแน่นอนว่า หากคุณเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ คุณก็สามารถนำ Indicator ของคุณมาขายก็ได้เช่นกัน!
ระบบแจ้งเตือนข่าวสาร
MT4 จะอำนวยความสะดวกในเรื่องข่าวสารจากทั่วโลก เช่น ในภาพจะมีสรุปการประชุม G10 ให้ด้วย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่เทรดเดอร์จะติดตามข่าวสารทั้งหมดด้วยตัวเองในขณะที่กำลังเทรดอยู่ ดังนั้นข่าวสำคัญ ๆ จะถูกสรุปไว้ใน MetaTrader 4 News Terminal ซึ่งจะอยู่ด้านล่างของโปรแกรมเทรด

แน่นอนว่า นอกจากสรุปข่าวจากทั่วโลกให้ตลอดเวลาแล้ว ภายในแพลตฟอร์ม MetaTrader 4 ยังมีปฏิทินเศรษฐกิจติดมาให้ด้วย! สำหรับคนที่ไม่เข้าใจว่าเอาไว้ใช้ทำอะไร ให้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเทรดข่าว หรือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ว่ามีผลต่อการเทรดอย่างไร

เริ่มต้นการใช้ MT4
หน้าต่างของ MT4 อาจจะดูมีปุ่มให้เลือกใช้งานเยอะอยู่บ้าง แต่หากลองทำความคุ้นเคยไปเรื่อย ๆ จะพบว่าส่วนที่ใช้งานหลัก ๆ จะมีอยู่ไม่กี่อย่าง แผงควบคุมที่ใช้งานบ่อยที่สุดคือส่วนที่ [1] โดยส่วนที่ [4] เป็นส่วนที่ได้ใช้งานน้อยมาก ๆ อธิบายดังนี้
- จะเป็นหน้าต่างที่รวมคำสั่งเกี่ยวกับการเทรด โดยปุ่ม “New Order” คือปุ่มเรียกหน้าต่างเพื่อส่งคำสั่งซื้อขาย ปุ่มอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือตีเส้น Trendline, วิเคราะห์กราฟ หรือขยายกราฟราคา
- หน้าต่างเลือกสินทรัพย์ หรือ Market Watch
- รายการที่ได้ทำการซื้อขาย หรือที่รอการซื้อขาย (Pending Order)
- ส่วนนี้จะเป็นเครื่องมือสำหรับเทรดเดอร์ที่มีประสบกาณ์พอสมควร เช่น Exposure เอาไว้ตรวจสอบภาพรวมของพอร์ต, Account History คือรายการซื้อขายในอดีต นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือเสริมต่าง ๆ เช่น News จะเป็นการสรุปข่าวสำหรับนักเทรดมืออาชีพ, Market คือตลาดซื้อขายหรือแจก EA และ Indicator ต่าง ๆ

วิธีตั้งค่ากราฟ MT4 ในคอมฯ – PC
การตั้งค่ากราฟ MT4 ในคอมพิวเตอร์ ให้คุณคลิกขวาที่พื้นที่ว่าง ๆ บนกราฟราคา แล้วเลือก Properties หรือกด F8 จะเป็นการเรียกหน้าต่างตั้งค่ากราฟราคาออกมา ต่างหากคุณเปิด MT4 มาแล้วไม่มีกราฟราคา แล้วคลิกขวาที่รายการสินทรัพย์ใด ๆ ก็ได้ แล้วเลือก “Chart Windows” ดังภาพด้านล่าง

ภาพด้านล่างคือหน้าต่างสำหรับการตั้งค่ากราฟ MT4 และส่วนที่ได้ใช้บ่อย ๆ คือ Show กับ Colors โดยจะเริ่มจาก Colors ก่อน

- Bar Up : ตั้งค่าสีของ “กรอบ” ของแท่งเทียนขาขึ้น
- Bar Up : ตั้งค่าสีของ “กรอบ” ของแท่งเทียนขาลง
- Bull Candle : ตั้งค่าสีของเนื้อแท่งเทียน – ขาขึ้น
- Bear Candle : ตั้งค่าสีของเนื้อแท่งเทียน – ขาลง
- Scheme : จะเป็นการเลือกกำหนดชุดสีอัตโนมัติ ไม่ต้องปรับแต่งเอง
การเพิ่มและการตั้งค่า Indicator ต่าง ๆ ใน MT4
Indicator คือเครื่องมือที่ช่วยคุณวิเคราะห์กราฟราคาหรือรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตลาด ณ เวลานั้น ๆ ได้ดีขึ้น คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่บทความ “Indicator ยอดนิยม” โดยวิธีการเพิ่ม Indicator ในกราฟราคาใน MT4 คือให้กดปุ่ม Insert > Indicators > “หมวดหมู่” แล้วเลือก Indicator ที่ต้องการ

การตั้งค่า Indicator ของ MT4 หลัก ๆ จะมีแค่ 2 อย่าง คือ “Period” ซึ่งหมายถึงจำนวนวันหรือจำนวนแท่งเทียนที่จะใช้ในการคำนวณ ซึ่งถ้าเป็นกลุ่ม Moving Average จะมีความหลากหลายมาก เช่น 20, 50 หรือ 200 แท่งเทียน (200 Periods) แต่หากเป็นเครื่องมือกลุ่ม Oscillator ก็มักจะตั้งค่าราว ๆ 10 – 15 แท่งเทียน

“Apply to” หรือคำสั่งอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน จะเป็น “รูปแบบการคำนวณ” (ท้ายที่สุดแล้วจะให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันน้อยมาก) ส่วนแท็บ Levels และ Visualization จะเป็นการตั้งค่าการแสดงผลต่าง ๆ เช่น ให้เส้นสีอะไร, มีกี่เส้น และแสดงในไทม์เฟรมไหนบ้าง ซึ่งจะไม่เกี่ยวกับการคำนวณ
การเปิดคำสั่งซื้อขายใน MT4
ในส่วนนี้จะเป็นการสอนเกี่ยวกับการส่งคำสั่งซื้อขายใน MT4 ซึ่งจากภาพด้านล่าง ในข้อที่ [1] มันคือปุ่ม New Order ซึ่งเมื่อกดแล้วจะขึ้นหน้าต่างส่งคำสั่งซื้อขาย โดยได้สรุปรายละเอียดได้ดังนี้
- ปุ่ม New Order สำหรับเรียกหน้าต่าง Order ในการส่งคำสั่งเทรด
- Volume หมายถึง “Lot” ซึ่งแนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับ CFD เพิ่มเติม จะทำให้เข้าใจและกำหนดค่า Lot ที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น
- ส่วนนี้จะเป็นการตั้งค่าการตัดขาดทุน (SL: Stop Loss) และการเลือกว่าจะปิดทำกำไร (TP: Take Profit) ที่ “ราคาไหน”
- การตั้งค่า “Type” ในส่วนนี้ จะเกี่ยวกับ “ประเภทของคำสั่งซื้อขาย” ซึ่งหากเราต้องการส่งคำสั่งซื้อขายในทันทีจะตั้งค่าเป็น “Market Execution” ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานอยู่แล้ว แต่หากต้องการคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Pending) ก็สามารถตั้งค่าได้จากตรงนี้ (ซึ่งจะอธิบายไปหัวข้อถัดไป)
- แน่นอนว่า ตรงนี้จะเป็นการเลือกว่า “Buy” (เก็งราคาขาขึ้น) หรือ “Sell” (เก็งราคาขาลง)

โดยในบทความนี้เราได้ทดลองทำการ Buy ในคู่เงิน USDJPY เป็นจำนวน 1 Lot ซึ่งโปรแกรม MT4 จะแสดงรายการการเทรดของเราดังภาพด้านล่าง
- เมื่อเราได้ทำการซื้อขายสินค้าอะไรไป ระบบจะแสดง “เส้นประ” บนกราฟราคาด้วยว่าเราได้ซื้อขาย ณ ราคาไหนไป
- อย่างที่อธิบายไปบ้างแล้วว่า ในส่วนนี้เรียกว่า Trading Terminal คำสั่งซื้อขายของเราจะแสดงในส่วนนี้ ซึ่งจะบอกว่า เรากำลังเปิดออเดอร์อะไรอยู่บ้าง และกำไรขาดทุน ณ เวลานั้น ๆ อยู่ที่เท่าไร

ในกรณีที่คุณต้องการปิดออเดอร์ที่คุณทำการถือครองอยู่ ก็ให้กดเครื่องหมาย “กากบาท” ที่อยู่ท้ายออเดอร์ติดกับส่วนของกำไรขาดทุน แต่หากคุณต้องการแก้ไขคำสั่ง TP & SL ในออเดอร์ที่คุณเทรดอยู่ ให้เลือก Modify Order ดังภาพด้านล่าง

วิธีการคือ [1] “คลิกขวา” ในออเดอร์ที่ต้องการแก้ไข แล้ว [2] เลือก “Modify or Delete Order” หลังจากนั้นคุณจะเห็นหน้าต่างใน [3] ซึ่งอนุญาตให้คุณแก้ไข TP & SL ได้
วิธีเปิดใช้งาน One-Click Trading
วิธีดังกล่าวข้างต้นจะเป็นวิธีมาตรฐานในการส่งคำสั่งซื้อขาย แต่ในกรณีที่เราต้องการความรวดเร็วในการเทรด โดยเฉพาะกลยุทธ์แบบ Scalping ที่เน้น “เข้าเร็ว-ออกเร็ว” เทรดเดอร์มาใช้ปุ่มลัดในการส่งคำสั่งซื้อขายที่เรียกว่า One-Click Trading ที่จะมีแค่ชื่อสินค้าและจำนวน Volume เท่านั้น (เราสามารถกำหนด TP & SL ในภายหลังได้จาก Trading Terminal)

One-Click Trading จะแสดงที่ด้านบนซ้ายของกราฟราคา แต่หากไม่ได้มีปุ่มนี้ปรากฏอยู่ เราสามารถกดเรียกมันขึ้นมาได้โดยคลิกขวาที่กราฟราคาดังภาพด้านล่าง หรือจะเรียกโดยการกดปุ่ม Alt + T ก็ได้
การใช้คำสั่งซื้อขายแบบ Pending ของ MT4 (Limit, Stop)
ในส่วนนี้จะเป็นการ “ตั้งค่าซื้อขายล่วงหน้า” หรือที่เรียกว่า Pending Order ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 4 คำสั่ง ได้แก่
- Buy Limit
- Sell Limit
- Buy Stop
- Sell Stop
คำสั่ง Limit
คำสั่งจำกัดใน MT4 เป็นคำสั่งประเภทหนึ่งที่อนุญาตให้เทรดเดอร์ซื้อหรือขายคู่สกุลเงินในราคาที่กำหนดหรือดีกว่า เมื่อนักเทรดวางคำสั่งจำกัด พวกเขาจะบอกแพลตฟอร์มการซื้อขายเป็นหลักว่าพวกเขายินดีที่จะซื้อหรือขายคู่สกุลเงินในราคาที่กำหนดหรือดีกว่า
คำสั่ง Stop
คำว่า Stop จริง ๆ โดยพื้นฐานมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “Stop Loss” ซึ่งคำสั่งแบบ Stop Order ถูกออกแบบมาเพื่อ 1. ป้องกันการสูญเสีย 2. ล็อคกำไรที่มีอยู่

แต่สำหรับคนที่มีความชำนาญในเรื่องการเทรดแล้ว อาจใช้วิธีวาง Pending แบบเร็ว ๆ ดังภาพด้านบนนี้ก็ได้ ซึ่งสามารถกดคลิกขวาที่กราฟราคา แล้วเลือก Trading – แต่จะเห็นว่าจำนวน Lot จะถูกตั้งอัตโนมัติไว้ โดยปริมาณ Lot จะถูกตั้งค่าไว้ตามที่เรากรอกไว้ใน One-Click Trading
▶ ทดลองใช้งาน AximTrade MT4
โบรกเกอร์ AximTrade ได้รับความนิยมในกลุ่มประเทศเอเชียและตะวันออก รวมถึงประเทศไทย เนื่องจากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเทรดชาวไทยและเอเชีย โดยเฉพาะการจัดโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง และการให้โบนัสเงินฝาก ซึ่งช่วยให้นักเทรดสามารถบริหารความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ AximTrade ยังใช้เทคโนโลยีการเทรดทันสมัย การใช้งานผู้ให้บริการสภาพคล่อง (LP) ระดับโลก ทำให้การส่งคำสั่งซื้อขายทำให้ได้รวดเร็ว และแน่นอนว่า ลูกค้าของ AximTrade ยังสามารถใช้งานแพลตฟอร์ม MetaTrader 4 ได้ฟรี ๆ ทดลองใช้งานได้คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่าง!