แนวโน้มราคาน้ำมันในปี 2023 ยังได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ “อุปสงค์ของโลก” แม้เราจะทราบกันดีว่า ตลาดพลังงานมีความผันผวนในทุก ๆ ปีอยู่แล้ว แต่ปัจจัยหลักในแต่ละปีกลับเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ
สารบัญ
ภาพรวมแนวโน้มราคาน้ำมัน
หลังจากสถานการณ์ ยูเครน-รัสเซีย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ความไม่แน่นอนของตลาดก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคาน้ำมันดิบ (Brent) พุ่งขึ้นสู่ระดับ 50 ดอลลาร์ต่อบาเรลล์ และเพียงไม่กี่สัปดาห์ Brent แตะระดับ 134 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008 ก่อนเกิดวิกฤตการเงินโลก
ผลกระทบที่ตามมาหลังกรณี ยูเครน-รัสเซีย คือตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับ “วิกฤตอุปทาน” (ทำให้เกิด “เงินเฟ้อ” อีกด้วย) เพราะตลาดน้ำมันดิบของรัสเซีย ก็เป็นแหล่งส่งออกที่สำคัญของโลก หากรัสเซียไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้ หรือโดน “แบน” จากนานาชาติ ก็จะทำให้ปริมาณน้ำมันดิบหมุนเวียนในตลาดโลกน้อยลง และดันราคาน้ำมันให้พุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกังวลนี้ได้ถูกบรรเทาลงจากความพยายามของ “กลุ่มผู้บริโภค” ที่พยายามผลักดันการใช้น้ำมันของประเทศทางเลือก เรียกว่า “non-Russian oil” ช่วยยับยั้งไม่ให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นไปมากกว่านี้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มราคาน้ำมันในปี 2023
เศรษฐกิจโลกถูกคุกคามด้วยปัจจัยเสี่ยงหลายประการ IMF คาดการณ์ว่า 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกจะตกอยู่ใน “กับดักของภาวะถดถอย” ในปี 2023 นี้ ซึ่งรวมถึงประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกอย่าง สหรัฐ, สหภาพยุโรป และจีน อัตราการบริโภคน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% ที่มาจากกลุ่มประเทศเหล่านี้
คว่ำบาตรรัสเซีย
‘รัสเซีย’ เป็นผู้เล่นรายสำคัญในตลาดน้ำมันสากล เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับสามของโลกรองจากสหรัฐฯ และซาอุดีอาระเบีย และหากนับในแง่ของการส่งออก รัสเซีย เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดีอาระเบีย รัสเซียยังมีบทบาทสำคัญในกลุ่ม OPEC+ ในการออกความเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มหรือลดกำลังการผลิตน้ำมันในแต่ละปี
ในปี 2022 รัสเซียถูกคว่ำบาตรมากถึง 9 ครั้ง จากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU) กลายเป็นประเทศที่ถูกคว่ำบาตรมากที่สุดในโลก มาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะโจมตีในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคพลังงาน นั่นทำให้การคว่ำบาตรในแต่ละครั้ง ส่งผลอย่างรุนแรงต่อราคาน้ำมัน ผลักดันให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม กำลังการผลิตน้ำมันของรัสเซียแทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง มีรายงานว่า รัสเซียลดกำลังการผลิตลงราว 200,000 บาร์เรลต่อวันเท่านั้น
จีนเปิดประเทศ
ในช่วงธันวาคม 2022 จีนเริ่มผ่อนคลายนโยบาย zero-Covid ลง ทั่วโลกจึงคาดการณ์ว่า จีนกำลังเตรียมแผนจะเปิดประเทศอีกครั้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ย่อมหมายความว่า ธุรกิจต่าง ๆ ในจีนอาจจะเริ่มกลับมาสั่งซื้อและนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศอีกครั้ง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มพลังงาน แน่นอนว่า ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันมากที่สุดในโลก การเติบโตของตัวเลข GDP ของจีนจึงส่งผลโดยตรงต่อทิศทางราคาน้ำมัน
Goldman Sachs ประเมินว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกจะเพิ่มความต้องการน้ำมันดิบอย่างน้อย 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับการเปิดเมืองของจีน อาจจะส่งผลต่อราคาน้ำมันได้ราว ๆ 5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
แต่มุมมองในด้านตรงกันข้าม เช่น IMF ประเมินว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว เศรษฐกิจจีนอาจโตได้เพียง 3% ในปี 2023 ซึ่งอาจไม่มากพอที่จะผลักดันราคาน้ำมันดิบให้พุ่งสูงกว่านี้ได้
IEA มองอย่างไร?
รายงาน IEA Oil Market Report ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 คาดการณ์ว่า ความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขึ้นมาอยู่ระดับ 101.9 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2023 จีนและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นผู้บริโภคหลักที่สนับสนุนแนวโน้มราคาน้ำมันในครั้งนี้
IEA มองว่า แม้จะมีการคว่ำบาตร แต่การผลิตและการส่งออกน้ำมันของรัสเซีย ยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ประเทศอาจเผชิญกับภาวะ “อุปทานล้น” จากกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง ทางการรัสเซียเองก็ประเมินว่า การผลิตอาจลดลง 500,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนมีนาคม
สำหรับฝั่งของอุปทานทั่วโลก IEA เชื่อว่า จะเติบโต 1.2 ล้านต่อวันในปี 2023 โดยได้รับแรงหนุน OPEC+ ที่เร่งผลิตน้ำมันเพื่อขายในจังหวะที่ราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ต้องเฝ้าติดตามคือการคว่ำบาตรรัสเซีย เพราะจะทำให้อุปทานบางส่วนหายไป
EIA จัดทำรายงานสถานะรายสัปดาห์เพื่อแสดงสถิติในอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งอาจช่วยให้เราสามารถประเมินแนวโน้มของราคาน้ำมันได้ดียิ่งขึ้น รายงานดังกล่าวมีรายละเอียดตั้งแต่ภาพรวมของอุปทาน สต็อกน้ำมัน โดยพื้นฐานแล้ว หากสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น แสดงว่าอุปสงค์ลดลงหรือการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาจแปลว่า แนวโน้มราคาน้ำมันอาจถูกลง เป็นต้น
OPEC
OPEC มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางราคาน้ำมัน เพราะกลุ่ม OPEC ผลิตน้ำมันส่งออกในสัดส่วนที่มากที่สุดในโลก การตัดสินใจเพิ่มหรือลดปริมาณการผลิต จึงส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโดยตรง
การประชุม
- รายงานที่เผยแพร่โดย OPEC จะประกาศออกมาเป็นรายเดือนและรายปี รายงานประจำเดือนเหล่านี้ แสดงมุมมองภาพรวมของตลาดน้ำมันทั่วโลกและแนวโน้มสำหรับปีข้างหน้า คุณสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการผลิตของประเทศสมาชิก OPEC ได้จากรายงานเหล่านี้
- OPEC มีการประชุมใหญ่สองครั้งในแต่ละปี การประชุมดังกล่าวมักมีรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการผลิตน้ำมันของประเทศสมาชิก แน่นอนว่า การประชุมนี้จะสร้างความผันผวนให้กับราคาน้ำมันเป็นอย่างมาก
▶ เทรดน้ำมันกับ AximTrade
โบรกเกอร์ AximTrade ให้บริการซื้อขาย Forex & CFD และผลิตภัณฑ์การเงินหลัก ๆ ของโลกทั้งหมด ตั้งแต่ น้ำมัน, ทองคำ, หุ้นสหรัฐฯ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล โดยมีแพลตฟอร์มการเทรด MetaTrader 4 ซึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นแพลตฟอร์มเทรดสากลสำหรับนักลงทุนมืออาชีพในตลาด CFD & Future
สำหรับสินค้าพลังงาน ก็มีให้บริการครบครัน ทั้ง Brent, WTI และก๊าชธรรมชาติ โดยเทรดเดอร์สามารถเข้าถึงการลงทุนโดยไม่มีข้อจำกัดด้านเงินทุน เพราะโบรกเกอร์มี Leverage ที่ยืดหยุ่น รองรับนักลงทุนทุกประเภท
- เรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของตลาดน้ำมัน
- ตัดสินใจว่า คุณต้องการจะเทรดอะไร CFD, Future หรือ Spot?
- เลือกเปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ