Aximdaily
คู่เงิน Forex ยอดนิยม

รู้จักคู่เงิน Forex ยอดนิยม และคู่เงิน Forex ที่วิ่งแรง

ในตลาดการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น, สกุลเงินดิจิทัล, พันธบัตรรัฐบาล ฯลฯ เราอาจมีความรู้สึกว่า เรากำลังซื้อขายสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเป็นเอกเทศ เช่น ซื้อทองคำ-ขายทองคำ แต่เราอาจไม่ได้ทันคิดว่า การซื้อขายเหล่านั้นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเสมอ หากเราไปซื้อทองคำ เราก็ต้องนำเงินบาทในมือไปแลกเปลี่ยน เป็นต้น

ดังนั้น จริง ๆ แล้ว ตลาดการเงินทั้งหมดจะมีการเทรดหรือซื้อขายกันในรูปแบบ “คู่สินทรัพย์” กันทั้งสิ้น เช่น การซื้อทองคำ ก็คือการเทรดคู่สินทรัพย์ “Gold/THB” เป็นต้น เช่นเดียวกันกับตลาดสกุลเงิน หรือ “Forex” ที่จะมีการซื้อขายกันเป็นคู่ ๆ เรียกว่า “คู่เงิน Forex” นั่นเอง โดยในบทความนี้ จะพาไปสำรวจว่า คู่เงิน Forex ที่นิยมเทรด มีอะไรบ้าง? และแต่ละคู่เงินมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

คู่เงิน Forex คืออะไร?

ตลาดเงินตราต่างประเทศ หรือ “ตลาด Forex” จะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินกันตลอดเวลา เช่น การส่งออกสินค้าไปขายนอกประเทศ โดยในหลาย ๆ ประเภทสินค้าจะมีการใช้สกุลเงินดอลลาร์ (USD) เป็นตัวกลางในการซื้อขาย ดังนั้น หากประเทศใดมีสกุลเงินดอลลาร์ไม่เพียงพอ ก็ต้องนำสกุลเงินของตัวเองเข้าไปเทรดกับธนาคารต่าง ๆ

อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่า กลไกเบื้องหลังของการเทรดในทุกสินทรัพย์จะซื้อขายกันเป็น “คู่” ดังนั้น ในเบื้องต้น คู่เงิน Forex จึงเกิดจาก “การซื้อขายแลกเปลี่ยน” กันระหว่าง 2 สกุลเงิน เช่น ต้องการเทรดเงินดอลลาร์ไปเป็นเงินบาท ก็จะกลายเป็นคู่เงิน USD/THB หรือสมมติว่า เราเป็นบริษัทในยุโรป และมีสกุลเงินดอลลาร์ไม่เพียงพอ เราก็ต้องเทรดสกุลเงินยูโรไปเป็นดอลลาร์ มันก็คือการเทรดคู่เงิน EUR/USD เป็นต้น

แต่เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงมีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับคู่เงิน Forex ให้มีการใช้สัญลักษณ์ไปในรูปแบบเดียวกัน มีการกำหนดย่อของแต่ละสกุลเงิน และวิธีการไขว้คู่เงินที่เรียกว่า Base Currency และ Quote currency

คู่เงิน Forex คืออะไร

อักษรย่อของแต่ละสกุลเงิน

ในส่วนนี้จะเป็นตัวย่อของสกุลเงินที่สำคัญ ซึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์เวลาจับคู่ไขว้กันเป็นคู่เงินที่เรียกว่า Base Currency กับ Quote currency

ตัวย่อคู่เงิน Forex

Base Currency และ Quote currency คืออะไร?

ในคู่เงิน Forex ทั้งหมด จะแสดงเป็นสัญลักษณ์ในรูปแบบ “สกุลเงินหลัก/สกุลเงินรอง” (ตัวแรก/ตัวหลัง) เช่น EUR/USD เป็นต้น โดย “EUR” เป็นสกุลเงินหลัก และ “USD” เป็นสกุลเงินรอง และทั้งนี้

  • Base Currency หมายถึง “สกุลเงินหลัก” หรือสกุลเงินตัวแรกในคู่เงิน Forex
  • Quote currency หมายถึง “สกุลเงินรอง” หรือสกุลเงินตัวหลังในคู่เงิน Forex

รูปแบบ Base Currency/Quote currency มีความหมายว่า “1 Base Currency” มีมูลค่าเท่ากับกี่หน่วย “Quote Currency” หรืออาจพูดว่า “สกุลเงินหลัก 1 หน่วย จะแลกสกุลเงินรองได้กี่หน่วย” ตัวอย่างเช่น

  • EUR/USD = 1.0200 หมายความว่า 1 EUR แลกได้ 1.0200 USD
  • NZD/USD = 0.6500 หมายความว่า 1 NZD แลกได้ 0.6500 USD
  • USD/JPY = 145 หมายความว่า 1 USD แลกได้ 145 JPY

จะเห็นว่า Quote Currency หรือ “สกุลเงินรอง” จะเป็นตัวกำหนดหน่วยสกุลเงินของการแสดงสัญลักษณ์ดังกล่าว เช่น มูลค่าของ EUR/USD จะแสดงหน่วยเป็น “USD” และมูลค่าของ USD/JPY จะแสดงหน่วยเป็น JPY เป็นต้น

คู่เงิน Forex ที่นิยมเทรดมากที่สุด

คุณทราบแล้วว่า สกุลเงินหลัก ๆ ที่นิยมจับคู่เทรดในตลาด Forex มีประมาณ 7-8 สกุลเงิน และเมื่อนำสกุลเงินทั้งหมดมาจับคู่กัน จะได้คู่เงิน Forex มากกว่า 30+ แต่เอาเข้าจริง ๆ คู่เงิน Forex ที่นิยมเทรดกันมีเพียง 10 คู่ (หรือบวกลบนิดหน่อย) เท่านั้น เหตุผลหลัก คือ เรื่องสภาพคล่อง และความสะดวกในการติดตามข่าวสาร ซึ่งมีรายละเอียดดั่งภาพด้านล่างนี้

คู่เงิน Forex ที่นิยมเทรด

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษสูญเสียอิทธิพลทางเศรษฐกิจ และทำให้ “ปอนด์สเตอร์ลิง” (GBP) ถูกลดความสำคัญลง ทำให้หลังจากนั้น สกุลเงินดอลลาร์ (USD) และสกุลเงินยูโร (EUR) ก้าวขึ้นมามีบทบาทมากที่สุดในเวทีโลก จวบจนมาถึงยุค “ฟอเร็กซ์ออนไลน์” ที่มีการใช้แพลตฟอร์ม MetaTrader 4 เป็นตัวหลักในการเทรด Forex คู่เงิน EURUSD ก็มีปริมาณการเทรดเป็นอันดับ 1 มาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม 3 อันดับคู่เงิน Forex ที่มีปริมาณการเทรดมากที่สุด ก็ยังมีเงินปอนด์ติดอันดับมาเสมอ เรียงลำดับมากไปน้อย คือ EURUSD, USDJPY และคู่เงิน GBPUSD มาเป็นอันดับที่ 3

คู่เงิน Forex ที่วิ่งเป็นเทรน

เรื่องนี้อาจมีความยากในการอธิบายนิดหน่อย ต้องเข้าพื้นฐานเกี่ยวกับ “ทฤษฎี Dow Theory” มาบ้าง ทั้งนี้ “ในภาพใหญ่” คู่เงิน Forex มีลักษณะเป็นกรอบไซด์เวย์ เพราะธรรมชาติของ “ค่าเงิน” คือสิ่งที่สะท้อนกำลังซื้อโดยรวมของประเทศ ในสถานการณ์ปกติ สกุลเงินที่มีมูลค่า “ถูก” หรือ “แพง” เกินไป จะค่อย ๆ ถูกกลไกตลาดปรับจนกลับเข้าสู่จุดสมดุล ทำให้ในภาพใหญ่ตลาดมักเป็นไซด์เวย์ขนาดใหญ่

แต่นั่นก็ทำให้ การเคลื่อนไหวในรายเดือนหรือในกรอบ 8-12 สัปดาห์ขึ้นไป คู่เงิน Forex ส่วนใหญ่ก็มักวิ่งเป็นเทรนไปตามกรอบแน้วโน้มขนาดใหญ่

ข้อสังเกต : ในระยะ 8-12 สัปดาห์ขึ้นไป ทุกคู่เงินสามารถวิ่งเป็นเทรนชัดเจนได้

แม้แต่ประเทศมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกันมาก และเป็นคู่ค้าสำคัญของกันและกันอย่าง AUD (ดอลลาร์ออสเตรเลีย) กับ NZD (ดอลลาร์นิวซีแลนด์) ซึ่งมักมีการเคลื่อนไหวของค่าเงินที่สอดคล้องกัน ซึ่งทำให้ “ภาพระยะสั้น” (ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์) ค่าเงิน AUD, NZD มีแนวโน้มจะเคลื่อนไหวแบบอืด ๆ และเป็นกรอบไซด์เวย์ แต่ถึงอย่างไร เมื่อซูมออกไปในระยะ 8 สัปดาห์ขึ้นไป เราจะเห็น AUDNZD วิ่งเป็นเทรนบ้างแล้ว

คู่เงิน Forex มักวิ่งเป็นเทรนหลัง 8-12 สัปดาห์

สูตรการหาคู่เงิน Forex ที่วิ่งเป็นเทรนในระยะสั้น

อย่างไรก็ตาม ความหมายของคำว่า คู่เงิน Forex ที่วิ่งเป็นเรนสำหรับนักเทรด Forex มักหมายถึงแนวโน้มในระยะสั้นระดับ 3-4 วัน หรืออย่างมากก็ไม่เกิน 1 สัปดาห์เท่านั้น เพราะนักเทรด Forex มีแนวโน้มที่จะต้องการเก็บส่วนต่างราคาในระยะสั้น และไม่ต้องการถือครองออเดอร์แช่ไว้ในตลาดนานเกินไป

จากข้อกำหนดเรื่องการถือออเดอร์ไม่เกิน 3-4 วัน เทรดเดอร์จะนิยมเลือกเทรดคู่เงินที่ไขว้กับ USD เท่านั้น เพราะเป็นสกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูง ทำให้แม้จะเป็นกราฟในระยะสั้น ราคาก็ยังสามารถผันผวนจนสร้างแนวโน้มที่มีคุณภาพและมีความสมูธของราคาได้ หลังจากนั้น จะกรองด้วยกราฟ 1 ชั่วโมง + EMA-200 ซึ่งก็จะเหลือคู่เงินเพียงไม่กี่คู่แล้ว ที่สามารถวิ่งเป็นเทรนแม้ในกรอบสั้น ๆ ได้ เช่น

  • EURUSD
  • GBPUSD
  • USDCAD
  • AUDUSD

เทคนิคการใช้กราฟ 1 ชั่วโมง + EMA-200 ในการกรองคู่เงิน Forex ที่วิ่งเป็นเทรน คือ การสังเกตจุดสัมผัสของเส้น EMA-200 กับกราฟราคาว่า ราคามีการวิ่งคร่อมเส้น EMA-200 นานเท่าไร? เพราะหากเป็นเทรนที่มีคุณภาพ (ซึ่งมักเกิดเฉพาะในคู่เงินที่ไขว้กับ USD) มักใช้เวลาคร่อมเส้น EMA-200 ไม่เกิน 3-4 วัน และวิ่งเป็นเทรนต่อไป ลองสังเกตได้จากกราฟ NZDUSD ด้านล่างนี้

คู่เงิน NZDUSD วิ่งเป็นเทรน

ที่นี่ลองเปรียบเทียบกับภาพถัดไปด้านล่างที่เป็นกราฟ EURNZD (คู่เงินที่ไม่ไขว้กับ USD) จะเห็นชัดเจนเลยว่า จุดสัมผัสตรง EMA-200 มีหลายช่วงที่มีการคร่อมเส้นเป็นระยะเวลานานมาก (ในภาพคือประมาณ 14 วัน) หรือแปลว่า เทรนในระยะสั้นของ EURNZD มักไม่ค่อยมีคุณภาพ (ถ้าจะเล่นเทรน ต้องเล่นไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่านี้)

ข้อสังเกต : คู่เงินที่ไขว้กับ USD จะเป็นคู่เงิน Spread ต่ำเสมอ เพราะมีสภาพคล่องสูง – แต่กลุ่ม Cross-Currency จะมี Spread กว้างกว่านิด ๆ

คู่เงิน EURNZD มักวิ่งเป็นไซด์เวย์

คู่เงิน Forex ที่วิ่งเป็นเทรนตามปัจจัยพื้นฐาน

นอกจาก “ความสมูธของราคา” แล้ว เรามีแนวโน้มที่จะวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของคู่เงินที่ไขว้กับ USD ได้ง่ายกว่า ประการแรกเพราะ “ข่าวสหรัฐฯ” จะมีรายงานอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว และเพราะ USD เป็นสกุลเงินสำรองของโลก มีอิทธิพลมากที่สุด การอ่านข่าว USD อย่างเดียวก็แทบจะเพียงพอ ดังนั้น เราเพียงแค่ติดตามว่า ปัจจัยพื้นฐานของอีกสกุลเงินว่า “มีอะไรพิเศษหรือไม่” เท่านั้น เช่นกรณี Brexit สำหรับคู่เงิน GBPUSD

แน่นอนว่า ข่าว USD ส่งผลต่อ GBPUSD แต่กรณี Brexit ถือเป็น “ข่าวพิเศษ” และกลายเป็นมีอิทธิพลเหนือกว่าข่าว USD ด้วย เพราะเรื่อง Brexit มันไปกระทบปัจจัยพื้นฐานของอังกฤษโดยตรง ลองพิจารณากราฟ GBPUSD ด้านล่าง จะเห็นว่า คู่เงิน GBPUSD วิ่งเป็นเทรนชัดเจนหลังมีการประกาศเรื่อง Brexit ในวาระต่าง ๆ

คู่เงิน Forex ที่วิ่งเป็นเทรน

กรณีของ Brexit เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในฐานะคู่เงิน Forex ที่วิ่งเป็นเทรนตามปัจจัยพื้นฐาน ทั้งนี้ ปัจจัยพื้นฐาน Forex ที่กระทบค่าเงิบในระยะกลาง-ยาว ขึ้นไปมักวนเวียนอยู่ไม่กี่เรื่อง

  • อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) เช่น ประกาศดอกเบี้ยของ Federal Reserve
  • อัตราเงินเฟ้อ (Inflation; CPI)
  • อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP)
  • ข่าวพิเศษที่กระทบการค้า เช่น Brexit, Trade War

คู่เงิน Forex ที่วิ่งแรง

เชื่อหรือไม่ว่า คำว่า “คู่เงิน Forex ที่วิ่งแรง” มีอันดับการค้นหาใน Google มากกว่าคำว่า คู่เงิน Forex ที่ปลอดภัยหรือที่ได้รับความนิยม เสียอีก! เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่า เมื่อเทรดเดอร์เริ่มเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการเทรดมาบ้างแล้ว เทรดเดอร์จะมองว่า คู่เงินที่มีความผันผวนสูงขึ้น เพราะมันหมายถึงโอกาสในการสร้างผลกำไรก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน (ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย)

คู่เงิน Forex ที่วิ่งแรง ๆ คือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหลักการหา “คู่เงิน Forex ที่วิ่งเป็นเทรน” อย่างสิ้นเชิง เพราะคู่เงิน Forex ที่วิ่งแรง ๆ มักเป็น “คู่เงินที่มีความแตกต่างกันทางเศรษฐกิจ” ความหมาย คือ เป็นประเทศที่อยู่กันคนละภูมิภาค และมีอาจไม่ใช่คู่ค้าสำคัญ (จึงไม่ต้องควบคุมค่าเงินให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกันมาก)

โดยนิยมจับคู่ GBP หรือ EUR แล้วนำไปไขว้กับประเทมกลุ่มเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย หากวัดเฉพาะส่วนต่างของราคา ตัวอย่างคู่เงิน Forex ที่วิ่งแรง ได้แก่

  • GBPJPY
  • GBPNZD
  • GBPAUD
  • EURJPY
  • EURAUD

คู่เงิน GBPJPY ได้รับความนิยมอย่างมาก สังเกตกราฟรายวันที่ด้านล่าง จะเห็นว่า ในแต่ละเดือน คู่เงินอาจผันผวนได้ราว ๆ 800 – 1,000 PIPS เลยทีเดียว และส่วนใหญ่ ก็สามารถวิ่งเต็มรอบได้ถึงประมาณ 2,000 PIPS+ สำหรับระยะเวลา 2-3 เดือน

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เราได้คำนวณ “PIP Value adjusted” ไว้ให้แล้ว ซึ่งจุดนี้หมายความว่า “ระยะ PIP ดังกล่าวจะคิดเป็นเงินเท่าไรเมื่อกดออเดอร์ 1 Lot” (1 PIP ของ GBPJPY เท่ากับ $7.05283)

คู่เงิน Forex บทเรียน Forex

คู่เงิน Forex ที่สัมพันธ์กับสินค้าโภคภัณฑ์

สินค้าโภคภัณฑ์ คือ วัตถุดิบพื้นฐานสำหรับการผลิตสินค้าแปรรูป, สินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยต้องอาศัยกระบวนการทางธรรมชาติในการให้ผลผลิต เช่น น้ำมันที่ได้จากการขุดเจาะ, แร่เหล็กที่ได้จากการทำเหมือง, หรือสินค้าเกษตรต่าง ๆ ที่ได้จากการเพาะปลูก ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้มาจากต้นกำเนิดในหลากหลายประเทศ

บางทีประเทศส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์จนกลายเป็นรายได้สำคัญของประเทศ ซึ่งนั่นทำให้สกุลเงินของประเทศนั้น ๆ แข็งค่าแปรผันตามรายได้จากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ๆ จนเรียกสกุลเงินของประเทศเหล่านั้นว่า “Commodity Currency” ซึ่งหลัก ๆ ที่นิยมเทรดในตลาด Forex ได้แก่

คู่เงิน AUDUSD กับแร่อุตสาหกรรม

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีเหมืองแร่คุณภาพดีอยู่มาก มีบรรษัทเก่าแก่อย่าง Broken Hill Proprietary หรือ BHP ที่ทำธุรกิจเหมืองและนำเข้ารายได้มหาศาลให้กับออสเตรเลีย แร่อุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ได้แก่ ทองคำ, เหล็ก และทองแดง ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์

การซื้อขายแร่อุตสาหกรรมในแต่ละล๊อตสินค้า มีมูลค่ามหาศาลมาก ซึ่งส่งผลต่อค่าเงิน AUD ด้วย เมื่อราคาทองคำ, ทองแดง แพงขึ้น ก็มีแนวโน้มที่รายได้ของออสเตรเลียจะเพิ่มขึ้นจากสินค้าในกลุ่มนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ของคู่เงิน หรือ Forex Correlation ระหว่าง AUDUSD และราคาทองคำ-แร่ มีแนวโน้มจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน (รวมถึงหุ้นเหมืองทองคำ)

ความสัมพันธ์คู่เงิน AUDUSD กับราคาทองคำ

จากภาพด้านบนจะเห็นว่า ช่วงเวลาส่วนใหญ่ของ AUDUSD จะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับราคาทองคำ (ยกเว้นช่วง 2018 ถึงต้นปี 2020 ที่ได้รับผลกระทบจาก Trade War) ทั้งนี้ ถ้าเราเข้าใจความสัมพันธ์ของบางคู่เงิน Forex ในลักษณะนี้ ก็จะทำให้เราได้เปรียบในตลาดมากขึ้น โดยสิ่งสำคัญคือเราต้องมีการเก็บรวบรวมสถิติและประมวลเป็นองค์ความรู้ของเราเอง

คู่เงิน USDCAD กับราคาน้ำมัน

น้ำมันดิบ คือ รายได้สำคัญของประเทศแคนาดา โดยพื้นฐานแล้ว ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะมีแนวโน้มที่จะทำให้สกุลเงิน CAD แข็งค่าขึ้นด้วย เพราะแคนาดาก็จะสามารถส่งออกได้น้ำมันดิบได้มากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ที่ผันผวนของการเมืองโลก ความสัมพันธ์ระหว่าง USDCAD และราคาน้ำมัน จะไม่ได้แปรผันตรงตามกัน เช่น ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นจากความตึงเครียดทางการเมืองโลก มักไม่ได้ส่งผลให้สกุลเงิน CAD แข็งค่าขึ้น เพราะไม่ได้ไปกระตุ้นการส่งออกน้ำมันดิบของแคนาดา ประเด็นนี้อาจต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Forex ควบคู่กันไปด้วย

ความจริงแล้ว นอกจาก AUD, CAD ก็ยังมี Commodity Currency อื่น ๆ เช่น “NOK” (สกุลเงินโครนนอร์เวย์) ที่อ่อนไหวกับราคาน้ำมัน หรือ “CLP” (เปโซชิลี) ที่อ่อนไหวกับราคาทองแดง และอื่น ๆ อีก แต่ทั้งหมดล้วนมีปริมาณการซื้อขายน้อย และคู่เงิน Forex เหล่านี้มีความผันผวนต่ำมาก ซึ่งทำให้เทรดกินส่วนต่างได้ยาก จึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมในการเทรด

คู่เงิน Forex ทั้งหมดของ AximTrade

โบรกเกอร์ AximTrade เป็นผู้ให้บริการซื้อขายสกุลเงิน หรือที่เรียกว่า “โบรกเกอร์ Forex” ซึ่งปัจจุบัน มีสินค้าให้เลือกเทรดครบทุก 7 ประเภทสินทรัพย์ทางการเงินแล้ว ทั้ง คู่เงิน Forex, โลหะมีค่า (ทองคำ, แร่เงิน), พลังงาน-น้ำมัน, ดัชนีหลักทรัพย์ เช่น S&P500, สินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ, หุ้นต่างประเทศ รวมถึงสกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin, Ethereum

สำหรับคู่เงิน Forex ทั้งหมดมีให้เทรดด้วยกันถึง 33 คู่เงิน แน่นอนว่า มีคู่เงินหลัก ๆ ทั้งหมดครบครัน (อย่าลืมว่า คู่เงินที่นิยมเทรดมีราว ๆ 10 คู่เงินเท่านั้น) แต่ของโบรกเกอร์ AximTrade ยังต้องการตอบสนอบต่อกลยุทธ์ที่หลากหลาย เช่นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์พิเศษในบางประเทศ ที่อาจสร้างผลต่อค่าเงินนั้น ๆ การมีคู่เงินให้เลือกเทรดเยอะ ๆ ก็เท่ากับเปิดโอกาสที่จะสร้างผลกำไรได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง สกุลเงินบางอย่างที่คุณอาจไม่คุ้นเคย แต่วันหนึ่งคุณอาจจะอยากเข้ามาเทรด

  • USDNOK – US Dollar vs Norway Krone
  • USDSEK – US Dollar vs Sweden Krona
  • EURSEK – Euro vs Sweden Krona
  • USDSGD – US Dollar vs Singapore Dollar
aximtrade broker