Aximdaily
อธิบายเกี่ยวกับ short selling

Short Selling คืออะไร มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง?

นักลงทุนในตลาดการเงินส่วนใหญ่ จะพยายามทำกำไรจากส่วนต่างราคาที่ได้จากการ “ขายสินทรัพย์” เมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้น หรือต้อง “ซื้อแล้วถือไปจนกว่าราคาจะขึ้น” นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินไม่ได้ขึ้นอย่างเดียว! นักลงทุนจำนวนมากประสบกับการขาดทุนเมื่อตลาดเป็นขาลง

นั่นทำให้ตลาดหลักทรัพย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเหลือนักลงทุนให้สามารถเอาตัวรอด, ปกป้องพอร์ตการลงทุนในยามที่ตลาดย่ำแย่ หรือแม้กระทั่งทำกำไรมหาศาลจากการที่สินทรัพย์ต่าง ๆ ปรับตัวลง และหนึ่งในวิธีการดังกล่าวนั้นเรียกว่า “Short Selling”

Short Selling คืออะไร?

Short Selling คือ การยืมหลักทรัพย์จากโบรกเกอร์ “เพื่อที่จะขายในทันที” โดยคาดหวังว่าราคาจะลดลงในไม่ช้า เมื่อราคาลดลง เทรดเดอร์จะทำการซื้อหลักทรัพย์คืนในราคาที่ต่ำกว่า และส่งคืนให้กับโบรกเกอร์ ผลลัพธ์ก็คือ เทรดเดอร์ที่ทำ Short Selling จะได้ส่วนต่างราคาจากการที่ “ซื้อคืน” ในราคาที่ต่ำลง ได้รับความนิยมในการเทรดระยะสั้น เช่น การเดย์เทรด เป็นต้น

  1. คุณยืมหุ้นบริษัทหนึ่งมา 10 หุ้น เพื่อขายทันทีในทันที ณ ราคา 10 USD
  2. จะเสมือนว่า คุณได้เงินมาก่อน [10 หุ้น x 10 USD] = 100 USD
  3. หากราคาหุ้นลงไป 5 USD แล้วคุณทำการซื้อกลับทั้งหมด 10 หุ้น (ต้องคืนโบรกเกอร์ให้ครบ 10 หุ้น)
    • แปลว่า คุณจะใช้เงินเพียง [10 หุ้น x 5 USD] = 50 USD ในการซื้อหุ้นคืนทั้ง 10 หุ้น
    • จากข้อ [2] คุณเสมือนว่าได้เงินไปก่อน 100 USD แต่ใช้เงินซื้อหุ้นคืนเพียง 50 USD
    • ดังนั้น เราจะเหลือเงินที่เป็นกำไร 50 USD

มีข้อวิจารณ์จำนวนมากว่า Short Selling ถูกมองว่าเป็นเป็นการฉกฉวยประโยชน์จากความตกต่ำของราคาหุ้น หรือเป็นการซ้ำเติมความเชื่อของบริษัทที่ทำธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ เพราะมันอาจนำไปสู่การลดการลงทุน, การถอนหุ้น ฯลฯ ซึ่งสามารถส่งผลต่อผลประกอบการและทิศทางในการทำธุรกิจได้

ทั้งนี้ มีคำเรียกผู้ฉกฉวยโอกาสเหล่านี้ว่า “Bottom Feeder” อย่างไรก็ตาม ในมุมหนึ่งก็มองว่า กลุ่มที่เป็น Short Seller ก็ถือเป็น “ผู้ตรวจสอบ” ที่เปิดเผยความไม่ชอบมาพากล, พฤติกรรมที่อาจเป็นการฉ้อโกงของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ หรือการปลอมแปลงงบการเงินต่าง ๆ เพราะหากมีข่าวว่าผู้ทำ Short Selling เป็นสถาบันขนาดใหญ่หรือนักลงทุนที่มีชื่อเสียง ก็อาจทำให้สังคมนักลงทุนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น ๆ

short selling คืออะไร

Short Selling ไปเพื่ออะไร?

การป้องกันความเสี่ยง (Hedging): การ Short สามารถใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากมูลค่าที่ลดลงได้ เช่น ถ้านักลงทุนมีความไม่มั่นใจเกี่ยวกับอนาคตของบางบริษัทที่ตนถือครองหุ้นอยู่ “แต่ไม่อยากขายหุ้นในมือทิ้ง” ก็อาจใช้วิธี Short Selling เพื่อปกป้องมูลค่าโดยรวมของพอร์ตได้ อนึ่ง หาก “คิดถูก” จะทำให้ได้กำไรมาซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำลงเพิ่มได้อีกด้วย

เก็งกำไร: จุดประสงค์ของการมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เรียกว่า “Short” ก็เพื่อ “ป้องกันความเสี่ยง” เพื่อ Hedge แต่ในเมื่อตลาดการเงินไม่ได้มีข้อจำกัด ซึ่งแปลว่า “ใครก็สามารถเปิด Short ได้” โดยไม่จำเป็นต้องแสดงหุ้นที่มีอยู่ในมือ ดังนั้น มันจึงเป็นพื้นที่อิสระในการเก็งกำไรสินทรัพย์ในตลาดขาลง

Short Squeeze คืออะไร

Short Squeeze เป็นเหตุการณ์ที่ราคาสินทรัพย์มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือ “กระโดดขึ้น” ทำให้นักลงทุนที่เปิด Short ขาดทุนจนต้องปิดสถานะ ซึ่งการปิดสถานะดังกล่าวยิ่งทำให้ราคาสินทรัพย์พุ่งสูงขึ้น คำว่า “Squeeze” หมายถึงการ “บีบเค้น” หรือการบีบบังคับให้ฝั่ง Short ต้องปิดสถานะยอมแพ้ไปนั่นเอง

เหตุการณ์ Short Squeeze ที่เป็นที่กล่าวถึงเมื่อไม่นานมานี้ คือเหตุการณ์ GameStop ในปี 2021 ที่ “นักลงทุนสถาบัน” และโบรกเกอร์ออกบทวิเคราะห์ให้ขาย GameStop อันเนื่องมาจากความสามารถในการขยายสาขา แต่หลังจากนั้นก็มีการรวมตัวกันของนักลงทุนรายย่อยเพื่อ “ช่วยกันซื้อหุ้น” ดังกล่าว จนราคาพุ่งสูงขึ้น และบีบให้ฝั่ง Short Selling (ซึ่งเชื่อว่าเป็น “รายใหญ่”) ปิดสถานะออก เป็นเหตุการณ์ที่ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นชัยชนะของนักลงทุนรายย่อย

Short Selling แตกต่างจากการเทรดทั่วไปอย่างไร?

  1. ทิศทาง: การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินทั่วไป เราคาดหวังว่าจะได้ “ซื้อราคาถูก” เพื่อที่จะ “ขายราคาแพง” แต่สำหรับการ Short Selling นั้น มันคือการเก็งว่า “ราคาจะต้องปรับตัวลง” 
  2. ความเสี่ยง: Short Selling จะขาดทุนเมื่อราคาสินทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น นั่นแปลว่า เพดานในการขาดทุนมีได้ไม่จำกัด แตกต่างจาก การซื้อหุ้นทั่วไป ที่ความเสี่ยงจะจำกัดแค่ “ราคาหุ้นเหลือศูนย์”
  3. กลยุทธ์: Short Selling มักเกี่ยวกับกับการเทรดระยะสั้นมากกว่า และอาศัย “เหตุการณ์พิเศษ” ในการทุบราคาหุ้นลงมา ซึ่งแตกต่างจากการเทรดฝั่ง Buy ที่ส่วนใหญ่จะเน้นการเทรดแบบ Trend Following
  4. การยืม: นักลงทุนที่ทำ Short Selling จะไม่มีการ “ถือครอง” สินทรัพย์อย่างแท้จริง แต่การยืมมาเพื่อขายและเก็บส่วนต่างราคา แตกต่างจากการลงทุนทั่ว ๆ ไป ที่จะต้องเข้าไปซื้อขายสินทรัพย์จริง ๆ “ไม่ใช่ใบกระดาษ”
  5. พลวัตของตลาด: ผลกระทบต่อเนื่องจาก Short Selling อาจจำไปสู่การพังทลายของสินทรัพย์นั้น ๆ ได้เลย โดยเฉพาะในตลาดหุ้น เพราะนักลงทุนที่เป็น Short Seller ส่วนใหญ่มีการใช้ Leverage ที่มากกว่าปกติ (อาจมี “วงเงินให้ยืม” มากกว่าบัญชีเงินฝาก๗ ทำให้ตลาดมีแนวโน้มจะปั่นป่วนมากกว่าการ “Buy” ทั่ว ๆ ไป

จะเห็นว่า การประสบความสำเร็จในการ Short Selling นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย คุณจำเป็นต้องมีทักษะและประสบการณ์ในระดับสูง ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คุณอาจจะเลือกที่จะฝึกฝนผ่านบัญชีทดลอง หรือ Demo Account ที่โบรกเกอร์ได้จัดเตรียมไว้ให้ก็ได้เช่นกัน

วิธีการ Short Selling

ก่อนเริ่มต้นทำการซื้อขาย เราต้องวางแผนก่อนว่า “จุดเข้า-จุดออก” ของราคาหุ้นที่เราจะทำ Short Selling ควรอยู่ตรงไหน ซึ่งคุณสามารถวางคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าได้ โดยหากคุณใช้แพลตฟอร์ม MT4 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐาน คุณจะสามารถใช้ “คำสั่งล่วงหน้า” ยกตัวอย่าง เช่น

Buy-Stop: เป็นคำสั่งให้ “ซื้อ” เมื่อราคาปรับตัวขึ้น สำหรับ Short Seller จะใช้ในการ “ล็อคกำไร” ที่ได้หลังจากทำ Short Selling

Sell-Limit: เป็นคำสั่งให้ “Sell” เมื่อราคาขึ้นไปถึงระดับหนึ่ง ๆ ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานและใช้งานบ่อยที่สุดสำหรับ Short Seller

  • สมมติว่า คุณกำลังพิจารณาการซื้อขายหุ้น XYZ ซึ่งราคาได้ลดลงจาก 90 USD กลายเป็น 66 USD แต่หลังจากนั้นก็ดีดตัวขึ้นเป็น 84 USD
  • หากคุณเชื่อว่า ราคาจะขึ้นไปสุดที่ 85 USD แล้วลงต่อ!
  • คุณอาจ
    • เปิด Short Sell ทันทีที่ราคา 84 USD
    • หรือตั้ง Sell Limit ไว้ที่ 85 USD เพื่อรอ Sell ที่ราคา 85 USD เป็นต้น

สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนจะ Short Selling

นอกจากเรื่องของการวิเคราะห์กราฟ หรือ รูปแบบราคาต่าง ๆ แล้ว การ Short ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับ “ผู้เล่น” ให้มาก และมีค่าสถิติสำคัญอยู่ 2 อย่างในการวิเคราะห์ผู้เล่นหรือ Sentiment ได้แก่

  • Short interest ratio – สถิตินี้บอกให้เห็นอัตราส่วนระหว่าง “ปริมาณหลักทรัพย์ที่ถูก Short” กับ “ปริมาณหลักทรัพย์ดังกล่าวที่มีซื้อขายในตลาด” หากอัตราส่วนที่สูง แปลว่า มีคนกำลัง Short ในระดับที่สูง เป็นสถิติในการประเมิน “อารมณ์ตลาด” หรือ Market Sentiment

การ Short Selling ในตลาดหุ้น

การขาย Short ในตลาดหุ้นในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมมีสองแนวทาง คือการใช้ตราสารพิวเจอร์ส และการใช้ตราสาร CFD โดยคุณต้องเลือกโบรกเกอร์ FX & CFD ที่ให้บริการ “หุ้น CFD” โดยอาจมีข้อพิจารณาดังนี้

  1. โบรกเกอร์: มองหาโบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียง หรือใช้หลักการเดียวกันกับการเลือกโบรกเกอร์ Forex โดยแนะนำให้เข้าไปสำรวจเว็บไซต์ของโบรกเกอร์นั้น ๆ ว่ามีผลิตภัณฑ์ตามที่เราต้องการหรือไม่?
  2. ปัจจัยพื้นฐาน: ราคาหุ้นมักเปราะบางต่อ “งบการเงิน” อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องศึกษาลักษณะพื้นฐานของธุรกิจนั้น ๆ ว่า ปัจจัยใดส่งผลต่อราคาหุ้นมากที่สุด เช่น หุ้นเหมืองทองคำ มักได้รับอิทธิพลจาก “ราคาทองคำ” และจำนวนเหมืองที่เปิดอยู่ เป็นต้น
  3. สภาพคล่อง: การ Short Selling ในตลาดหุ้น ต้องระวังเรื่องสภาพคล่องให้มาก เพราะอาจนำไปสู่เหตุการณ์ Short Squeeze ที่ทำให้ฝั่ง Short ต้องขาดทุนอย่างหนัก
  4. ผู้บริหารที่ไม่น่าไว้วางใจ: นี่เป็นข้อแตกต่างจากการเทรดในสินทรัพย์อื่น ๆ เราต้องพิจารณาว่า บริษัทไหนเป็นลักษณะที่ “ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร” หากความเป็นไปหรือทิศทางการทำธุรกิจมีแนวโน้มจะยึดติดกับบุคคลคนหนึ่ง ถือเป็นความเสี่ยงหนึ่งที่น่าจับตามอง เช่น หากผู้บริหารคนนั้น ๆ มีการฉ้อโกงเกิดขึ้น ก็จะทำให้ราคาหุ้นร่วงลงอย่างหนักได้
  5. กำไรแค่พองาม: แม้เราจะรู้สึกว่า บริษัทนั้น ๆ ไม่น่าลงทุนอีกต่อไปแล้ว แต่โดยธรรมชาติของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มักมีการลงทุนใหม่ ๆ เข้ามาเสมอ ซึ่งอาจนำไปสู่การฟื้นคืนของราคาหุ้นได้ ดังนั้น Short Seller ต้องมีแผนที่ชัดเจนว่า จะออกทำกำไรเมื่อใด หรือต้อง “หลบหนี” ให้เป็น เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่น มีธนาคารเข้ามาอุ้มบริษัท แบบนี้ก็อาจส่งผลดีต่อราคาหุ้น และทำให้ Short Seller ขาดทุนได้

การ Short Selling ในตลาดหุ้นถือว่า “คลาสสิก” ที่สุดในบรรดาเรื่องราวของตลาดการเงิน เพราะปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อราคาหุ้นมีเยอะมาก มีความเป็นไปได้หลายรูปแบบ เราอาจศึกษาเพิ่มเติมจากบทความ “หุ้น CFD” เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการ Short ผ่าน CFD มากขึ้น

การ Short Selling สกุลเงินหนึ่ง ๆ

แนวคิดในการ Short Selling ในคู่สกุลเงินจะแตกต่างจากหุ้นอยู่บ้าง

  1. คู่เงิน: คุณต้องศึกษาหลักการเกี่ยวกับคู่เงิน Forex ให้เข้าใจก่อนว่า มันทำงานอย่างไร?
  2. ประเภทบัญชี: เลือกประเภทบัญชี Forex ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของคุณ
  3. Short ค่าเงินที่อ่อนค่า: สกุลเงินต่าง ๆ แปรผันตามความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ คุณควรมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ Fundamental Analysis เช่น เงินเฟ้อ เป็นต้น

การ Short Selling ในตลาดคริปโต

สกุลเงิน Cryptocurrency ยังเป็นทางเลือกสำหรับการแสวงหาผลตอบแทนที่น่าสนใจ และการ Short Selling ก็ทำผลงานได้ดี เนื่องจากเหรียญคริปโตมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยต่าง ๆ อย่างมาก อีกทั้ง บางเหรียญก็มีการ “หลอกลวง” จนทำให้ราคาเหรียญดิ่งลงจนสร้างกำไรให้กับ Short Seller อย่างมหาศาล

  1. รู้จัก Founder: สกุลเงินที่ไม่ใช่สกุลเงินหลักอย่าง Bitcoin มักอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ก่อตั้งเหรียญฯ หากเราทราบแนวคิดหรือทิศทางของผู้พัฒนา เราจะประเมินอนาคตของเหรียญ Crypto นั้น ๆ ได้
  2. กลไกรายได้: โปรเจค Crypto ต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน คุณต้องศึกษา “แหล่งรายได้” ว่ามีจริงหรือไม่ และสมเหตุสมผลหรือเปล่า เพราะหากแหล่งรายได้ไม่สมเหตุสมผล มันหมายถึง โปรเจคอาจไม่ได้สร้างรายได้จริง ๆ และมันนำไปสู่การร่วงลงของราคาได้เช่นกัน
  3. ระวังเรื่องหน่วยงานรัฐ: หลายประเทศในโลกยังไม่ยอมรับการใช้งานเหรียญ Crypto ต่าง ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การ “แบน” และส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อราคาเหรียญได้ นี่เป็นหนึ่งในเรื่องที่เหล่า Short Seller ต้องศึกษา

ในแง่ของการเล่น Short Selling นั้น เหรียญคริปโตมีความคล้ายกับ “ตลาดหุ้น” ในแง่ที่ว่า มันอ่อนไหวต่อ “ปัจจัย” ที่ส่งผลต่อรายได้ของมัน รวมถึง Founder ของเหรียญนั้น ๆ ในขณะที่มันก็ได้รับผลกระทบต่อ Global Macro ไม่ต่างจาก Forex เช่น เรื่องอัตราดอกเบี้ย คุณอาจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความ “ความแตกต่างระหว่าง Forex กับ Crypto

การ Short Selling ในตลาดทองคำ 

การเทรดทองคำ ได้รับความนิยมในฐานะสินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไรมานานแล้ว แม้ว่า “ทองคำ” จะสามารถเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนในระยะยาว แต่ผลประโยชน์จากความผันผวนในระยะสั้น ดึงดูดในมีการเก็งกำไรมากกว่าการลงทุนจริง ๆ ซึ่งเราก็ควรนำประเด็นนี้มาพิจารณาสำหรับการ Short Selling ด้วย

  1. เมื่อทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีการเก็งกำไรสูง ดังนั้น การวิเคราะห์ทางเทคนิคจึงเข้ามามีบทบาทอย่างมาก
  2. เรานิยมเทรดทองคำคู่กับสกุลเงินดอลลาร์ อาจใช้สัญลักษณ์ XAU/USD หรือ Gold/USD นั่นหมายความว่า การเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์มีผลต่อราคาทองคำด้วย ดังนั้น เราควรศึกษาเกี่ยวกับดัชนีดอลลาร์ หรือ DXY เพิ่มเติม
  3. ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ของทองคำ ได้แก่ แรงตึงเครียดทางการเมืองโลก และเงินเฟ้อ ดังนั้น ศึกษาประเด็นเหล่านี้ได้ดี

ทั้งนี้อย่าลืมว่า การเทรดทองคำออนไลน์ในปัจจุบันเป็นรูปแบบ CFD เกือบจะทั้งหมดแล้ว ดังนั้น ศึกษาระบบ Lot และ PIP ใน CFD ให้ดี

Mindset ในการ Short Selling

แม้ว่าการ Short Selling จะดูตรงไปตรงมา แต่ก็อาจมีอะไรที่คุณอาจมองข้ามไป

  1. การยืม: เทรดเดอร์ต้องยืมสินทรัพย์ที่ต้องการ Short Selling ก่อน จึงจะสามารถดำเนินการขายชอร์ตได้ นั่นแปลว่า สภาพคล่องและการสนับสนุนของแพลตฟอร์มของโบรกเกอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
  2. การวิเคราะห์ทางเทคนิค: ความสามารถในการ “อ่านเกม” จากรูปแบบราคาต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการชนะในเกมนั้น ๆ ได้
  3. ความเสี่ยง: ตระหนักไว้เสมอว่า Short Selling มี “ความเสี่ยงไม่จำกัด” ซึ่งตรงกันข้ามกับคนที่เป็นนักลงทุนที่เน้นซื้อและถือหุ้นจริง ๆ
  4. มาร์จิ้น: อย่าลืมว่า Short Selling คือการ “ยืม” ดังนั้น คุณจะเสมือนกำลังซื้อขายด้วย “มาร์จิ้น” ทุกครั้งที่หุ้นปรับตัวขึ้น สถานะของคุณจะขาดทุนเรื่อย ๆ และโบรกเกอร์มีสิทธิ์บังคับขายเมื่อถึงจุดที่พอร์ตรับไม่ไหว
  5. ปัจจัยพื้นฐาน: การวิเคราะห์ Fundamental จะช่วยให้คุณ “กรอง” สินทรัพย์ที่เป็นเป้าหมายของคุณได้ สินทรัพย์ที่ไม่ได้มี “มูลค่า” สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน เช่น งบการเงิน ก็อาจเป็นเป้าหมายของการโจมตีของเหล่า Short Seller ได้
  6. จังหวะเวลา: ไม่ใช่แค่เรื่องของ “กราฟ” เท่านั้น แต่ประสบการณ์จะทำให้คุณรู้ว่า “จังหวะนี้” หรือ “ช่วงเวลานี้ของวัน” จะเริ่มมีกิจกรรมซื้อขาย หรืออาจนำไปสู่การเริ่มการเทขายเป็นต้น “จังหวะเวลา” จะปกป้องคุณจากการขาดทุนโดยไม่จำเป็น
  7. ต้นทุน: ศึกษาค่าใช้จ่ายสำหรับการขอเปิด Short Selling ได้ดี ๆ บ่อยครั้งที่มันแปรผันตาม Short interest ratio การเลือกใช้โบรกเกอร์ CFD อาจลดความซับซ้อนลงได้บ้าง

Short Selling อาจมีความยุ่งยากสำหรับมือใหม่ แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรจะเรียนรู้หากเลือกที่จะเดินในเส้นทางนี้ อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกว่า ไม่สามารถจะเป็นนักเทรดในสาย Short ได้จริง ๆ เราอาจเลือกที่จะถือเงินสดในสภาวะที่ตลาดเป็นขาลง ตามตำราที่เรียกว่า “Cash is King” เพื่อรอช้อนซื้อสินทรัพย์ในราคาถูกก็ได้


▶ เปิดบัญชีทำ Short Selling กับโบรกเกอร์ AximTrade

โบรเกอร์ AximTrade เป็นผู้บริการซื้อขาย FX & CFD ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในภูมิภาคเอเชีย และประเทศไทย เนื่องจากที่การพัฒนาระบบการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง การให้บริการ Forex App ที่ครอบคลุมทั้งระบบการฝาก-ถอน, การติดตามข่าวสาร รวมถึงสามารถเข้าใช้งานระบบ Copy Trade ได้จากมือถือ

และแน่นอนว่า ในส่วนของผลิตภัณฑ์การซื้อขาย ก็มีครอบคลุมตั้งแต่คู่เงิน Forex, ทองคำ, น้ำมัน, ดัชนีหลักทรัพย์ รวมถึงหุ้นต่างประเทศ ซึ่งคุณสามารถใช้งานโบรกเกอร์ AximTrade เพื่อเข้า Short Sell ในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้คุณสามารถทดลองใช้งานบัญชี Demo Account ก่อนก็ได้เช่นกัน เพียงคลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่าง!

aximtrade
aximtrade broker