Aximdaily
OPEC คืออะไร?

OPEC คืออะไร และทำไมถึงมีอิทธิพลต่อราคาน้ำมัน

คุณอาจจะเคยดูในหนังในเชิง “มาเฟียการเงินโลก” ว่ามีกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก มีทั้งเรื่องจริงและเรื่องไม่จริง เรื่องที่เป็นความลับและเปิดเผยอย่างโจ่งแจ้ง บทความนี้จะพาไปรู้จัก หนึ่งในผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของ “ราคาน้ำมัน” ที่เรียกว่า “OPEC” ตั้งแต่พื้นฐานว่า OPEC คืออะไร? มีประวัติความเป็นมาอย่างไร และพวกเขาใช้กลไกอะไรในการผลักดันราคาน้ำมัน

OPEC คืออะไร?

OPEC คือ องค์กรของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ) ย่อมาจาก “Organization of Petroleum Exporting Countries” จัดเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อประสานงานและกำหนดแผนนโยบายเกี่ยวกับการผลิตปิโตรเลียมภายในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิก ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 13 ประเทศ

แล้วเมื่อเป็นการรวมตัวกันของประเทศที่มีทรัพยากรเป็นน้ำมันดิบอยู่ใต้พื้นพิภพ ทำให้ OPEC คือ องค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกในการกำหนดทิศทางของราคาน้ำมัน เนื่องจากประเทศสมาชิกควบคุมปริมาณน้ำมันดิบสำรอง (ที่ได้รับการพิสูจน์) ถึง 80% ของปริมาณสำรองทั้งหมดของโลก นั่นทำให้แม้ในช่วงสิบปีให้หลังมานี้ สหรัฐฯ จะเติบโตขึ้นอย่างมากในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม แต่ก็ยังไม่เพียงพอจะมีอิทธิพลได้มากเท่า OPEC

OPEC คืออะไร?

ประวัติความเป็นมาของ OPEC

OPEC ก่อตั้งขึ้นในปี 1960 (พ.ศ. 2503) โดยมีประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อิหร่าน, อิรัก, คูเวต, ซาอุดีอาระเบีย และเวเนซุเอลา หลังจากนั้นจึงเป็นประเทศอื่น ๆ รวมทั้งลิเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแอลจีเรีย ที่เข้าร่วมมาในภายหลัง จนปัจจุบัน OPEC มีสมาชิกทั้งหมด 13 ประเทศ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2022

ในช่วง 5 ปีแรกของการก่อตั้ง สำนักงานใหญ่ของ OPEC ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากนั้นจึงย้ายไปกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1965 (พ.ศ. 2508)

อย่างที่พอทราบกันแล้วว่า วัตถุประสงค์หลักของ OPEC คือ การประสานงานเกี่ยวกับนโยบายธุรกิจปิโตรเลียมระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อสร้างความมีเสถียรภาพของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก, ควบคุมอัตราการผลิต และยังมีการประสานผลประโยชน์ในด้านการประกันราคาสำหรับประเทศผู้ผลิตและผู้ที่จะซื้อน้ำมัน

  • เป้าหมายของ OPEC เป็นการรับประกันผลประโยชน์ให้กับกลุ่มประเทศสมาชิก หรือประเทศที่มีรายได้จากการส่งออกปิโตรเลียม

OPEC มีประเทศอะไรบ้าง?

ในปัจจุบัน สมาชิกของประเทศ OPEC มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 13 ประเทศ โดยไล่ลำดับก่อนหลังดังต่อไปนี้

สมาชิก OPEC

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสมาชิก OPEC

  • “เอกวาดอร์” ระงับการเป็นสมาชิก 2 ครั้งในปี 1992 และ 2020
  • “อินโดนีเซีย” ระงับการเป็นสมาชิก 2 ครั้งเช่นกัน ในปี 2008 และ 2018
  • “กาตาร์” ยุติการเป็นสมาชิกในเดือนมกราคม 2019

และทราบหรือไม่ว่า ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกบางประเทศ ก็ไม่ได้เป็นสมาชิก OPEC แต่อย่างใด ประเทศที่น่าสนใจได้แก่ จีน, รัสเซีย, สหรัฐฯ (รัสเซีย เป็นเพียงประเทศที่เข้าร่วมฟังความเห็น จัดอยู่ใน OPEC+ แต่ไม่ใช่ประเทศสมาชิก)

OPEC+ คืออะไร?

กลุ่ม OPEC ได้มีการขยายความร่วมมือกับกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก แต่เป็นประเทศที่มีกำลังในการผลิตน้ำมัน ทั้งหมดเป็นเหตุผลในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อที่จะเพิ่มอำนาจต่อรองให้มากยิ่งขึ้นในตลาดน้ำมันดิบสากล “กลุ่มประเทศนอกโอเปก” (Non-OPEC) ได้แก่ รัสเซีย, คาซัคสถาน และเม็กซิโก หรือก็คือ “โอเปก + 3 ประเทศ” กลายเป็น OPEC+

ในส่วนของรัสเซีย เป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากสหรัฐฯ และซาอุดิอาระเบียเท่านั้น ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติจริง ๆ ยังมีประเทศอื่นๆที่ไม่ใช่สมาชิกของ OPEC เลย แต่ก็ยินดีที่จะทำตามแผนนโยบายของกลุ่ม OPEC เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน ในฐานะผู้ส่งออกปิโตรเลียม

OPEC กับการกำหนดราคาน้ำมัน

ประเทศสมาชิกในกลุ่ม OPEC มีกำลังการผลิตประมาณ 40% ของอุปทานน้ำมันดิบทั่วโลก และการส่งออกน้ำมันดิบของ OPEC คิดเป็นประมาณ 60% ของน้ำมันดิบทั้งหมดที่มีการซื้อขายจากทั่วโลก นั่นแปลว่าการตัดสินใจของกลุ่ม OPEC ในการเลือกที่จะ “ผลิตหรือไม่ผลิต” จะส่งผลต่อปริมาณน้ำมันที่หมุนเวียนในตลาดโลก และสามารถส่งผลถึงตลาด Forex ได้ด้วย

เป็นไปตามหลักการอุปสงค์และอุปทาน หากว่า OPEC เลือกที่จะ “ลดกำลังการผลิต” ซึ่งแปลว่า ปริมาณน้ำมันที่หมุนเวียนในตลาดโลกจะน้อยลง เมื่อสินค้ามีปริมาณน้อย ราคาน้ำมันก็จะขึ้นสูงขึ้น ในทางกลับกัน หาก OPEC เพิ่มกำลังการผลิต ก็จะทำให้ในตลาดมีน้ำมันดิบหมุนเวียนในปริมาณที่มากขึ้น เมื่อสินค้ามีปริมาณมาก ราคาน้ำมันย่อมต่ำลง

OPEC มีอิทธิพลต่อราคาน้ำมัน

▶ เทรดน้ำมันกับ AximTrade

ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่ม OPEC ทำให้เราสามารถคาดการณ์ถึงแนวโน้มของราคาน้ำมันในอนาคตได้เช่นกัน สำหรับบริษัทหรือนักลงทุนรายใหญ่ คุณอาจใช้ตลาดน้ำมัน (WTI & Brent) ในการป้องกันความเสี่ยงหรือ Hedging หรือหากคุณเป็นเทรดเดอร์ คุณก็อาศัยความรู้เกี่ยวกับ OPEC เข้ามาช่วยในการเทรดน้ำมันได้

ปัจจุบันโบรกเกอร์ AximTrade ให้บริการเทรดสินทรัพย์ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ที่ครอบคลุมสินค้าหลัก ๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทองคำ, แร่เงิน รวมถึงน้ำมันดิบที่เรากำลังพูดถึง คุณสามารถเทรดทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง มันคือการเทรดน้ำมันผ่าน CFD นั่นเอง

มีนักลงทุนจำนวนมากที่เข้ามาซื้อขายน้ำมันโดยไม่ได้ใช้เทคนิคการเทรดน้ำมันแบบพิเศษใด ๆ แต่ใช้วิธีการติดตามประกาศจาก OPEC ว่าจะมีการเพิ่มหรือลดกำลังการผลิตอย่างไรบ้าง คุณเองก็ทำได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามเราแนะนำให้คุณทดสอบความคิดของคุณผ่านบัญชีทดลอง หรือ Demo Account ก่อน หากคุณอยากเริ่มต้นประสบการณ์การเทรดของคุณแล้ว คลิกที่ปุ่มด้านล่าง!

aximtrade
aximtrade broker