Aximdaily
Trend Following คืออะไร

แนวคิดการเทรดแบบ Trend Following

ตลาดการเงินเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้แน่นอน เมื่อเห็นสัญญาณที่บ่งบอกบางสิ่งบางอย่าง ทุกคนก็ต่างเกาะกุมไว้ เทรดเดอร์ Forex ก็เช่นกัน ที่จะนิยมใช้กลยุทธ์ Trend Following หรือ “การเทรดตามเทรนด์” เพื่อปกป้องพอร์ตการลงทุนของตน และหากคุณต้องการทำกำไรในตลาด Forex ที่ผันผวนแห่งนี้ คุณต้องใส่ใจกับแนวโน้มของตลาดโดยรวม วลีดังของวงการนี้ คือ “เทรนด์คือเพื่อนของคุณ” (“The trend is your friend”)

วลี “แนวโน้มคือเพื่อนของคุณ” มีแนวโน้มที่จะปรากฏในอาชีพของนักเทรดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แม้ว่าเทรดเดอร์บางรายจะเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่า “เทรนด์คือเพื่อนของคุณ จนกว่ามันจะจบลง” ซึ่งหมายความว่าเทรนด์ไม่ได้ส่งผลดีกับคุณเสมอไป แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญหลายคนจะยืนยันก็ตาม ดังนั้นความถูกต้องของข้อมูลนี้คืออะไร?

แม้ว่าเราจะเชื่อในกฎ KISS ซึ่งกล่าวว่า “ทำให้มันเรียบง่าย และโง่เขลา!” (“keep it simple, stupid!”) แต่ต้องตระหนักว่า ไม่ใช่แค่ “เทรนด์คือเพื่อนของคุณ” แต่ต้องพิจารณาด้วยว่า “เทรนด์คือเพื่อนของคุณ จนกว่ามันจะจบลง” ซึ่งอาจต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบกราฟมาพิจารณาประกอบกลยุทธ์ Trend Following

กลยุทธ์ Trend Following คืออะไร?

Trend Following คือ กลยุทธ์การเทรดแบบ “ติดตามแนวโน้มราคา” ซึ่งอาจมีเกณฑ์ในการวัดรูปแบบที่แตกต่างกันไป หมายความว่า เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ Trend Following อาจเทรดในไทม์เฟรมที่แตกต่างกัน หรือมีจุดซื้อขายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ได้ ทั้งนี้ การเทรดตามเทรนด์ไม่ใช่การคาดการณ์ราคา แต่เป็นการกำหนดว่า “ตลาด ณ ปัจจุบัน” มีลักษณะเป็นแนวโน้มและสามารถเทรดทำกำไรได้หรือไม่?

Trend Following คืออะไร

อาจจะดูไม่ค่อยเท่นัก แต่ Trend Following มีข้อดีหลายประการ หนึ่งคือวิธีนี้ง่าย (อาจจะง่ายที่สุดในการเรียนรู้) ใช้เวลาน้อย และยังทำผลตอบแทนได้อย่างเหลือเชื่อ ในกรณีที่คุณลงทุนในตลาดหุ้น การเทรดหุ้นด้วย Trend Following มีแนวโน้มที่จะทำให้คุณถือหุ้นในระยะยาวและรับเงินปันผล ดังนั้น คนที่ทำงานประจำควบคู่ไปกับการลงทุน ก็ยังสามารถเทรดแบบ Trend Following ไปด้วยกันได้ หรือหากพอร์ตใหญ่มากแล้ว เงินปันผลก็อาจจะมากพอสำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้

การเทรดเป็นเกมทางจิตวิทยา เกมในระยะสั้นแฝงด้วยผลประโยชน์มหาศาล คุณไม่ควรประมาทตลาด Forex การกลับมาดูแนวโน้มและ “เทรดไปตามเทรนด์” ทำให้เราเกาะไปกับเกมของผู้นำตลาด ในมุมหนึ่ง ความผันผวนในระยะสั้น นับว่าเป็นโอกาสที่ทำให้เทรดเดอร์สามารถปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับแนวโน้มระยะยาว

การขาดทุนอย่างหนักมักเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดผันผวนรุนแรงและเทรดเดอร์มีสถานะที่เทรดตรงกันข้ามกับแนวโน้มหลัก ทั้งนี้ เป็นเรื่องปกติที่เทรดเดอร์มือใหม่จะไม่สนใจแนวโน้มเมื่อตลาดเกิดความผันผวน (โดยเฉพาะช่วงที่เป็นกรอบ เพราะดูเหมือนเทรดทำกำไรได้ง่าย) หากยึดหลักการของ Trend Following และคุณมองเห็นแนวโน้มแต่แรก คุณจะตัดสินใจเลือกที่จะ Stop Loss ได้มีประสิทธิภาพมาก และรักษาพอร์ตการลงทุนไว้ได้


Trend Following และการจัดการความผันผวน

การใช้กลยุทธ์ Trend Following สามารถได้ประโยชน์จากความผันผวนของตลาดได้ แม้ว่าความผันผวนที่สูงขึ้นจะสะท้อนคุณภาพของแนวโน้มราคาที่ไม่ดีนัก ความผันผวนรุนแรงอาจหมายถึงการกลับตัวของราคาในเร็ว ๆ นี้ ในขณะที่การพักตัวของราคาด้วยความผันผวนที่ต่ำหรือพอเหมาะ อาจหมายถึงการพักตัวที่มีคุณภาพและกำลังจะเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดิม

ความผันผวนอาจก่อให้เกิดการขาดทุนสะสมในระยะสั้นได้ แต่แนวโน้มของราคาที่แข็งแกร่งจะชดเชยการขาดทุนนั้นได้เช่นกัน

Trend Following แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนในอดีตที่น่าสนใจ แต่เทรดเดอร์ชอบพิจารณาว่า ในอดีตราคาเคยขึ้นไปสูงสุดหรือต่ำสุดขนาดไหน และใช้เวลาในการวิ่งเป็นเทรนด์ยาวนานเพียงใด แต่อาจลืมพิจารณาช่วงเวลาที่ “ไม่ได้เป็นเทรนด์” หรือช่วงที่กราฟนิ่ง ๆ ซื้อขายกันเป็นกรอบ ซึ่งจริง ๆ แล้วกินระยะเวลานานกว่า นำไปสู่การผิดพลาดในการจัดการออเดอร์การเทรด

การอยู่เฉย ๆ อาจเป็นผลดีกว่า

เทรดเดอร์จำนวนมากพยายามที่จะทำเงินในทุก ๆ ความผันผวน โดยการเทรดระยะสั้นเพื่อดักจับความเคลื่อนไหวในกรอบ จนบ่อยครั้งกลายเป็นเทรดแบบสุ่ม และจบลงด้วยการสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดที่มี สิ่งที่พวกเขาไม่รู้ก็คือ การซื้อขายบ่อย ๆ (โดยไม่ชำนาญ) ไม่ได้ส่งผลดีต่อพอร์ตของคุณ คุณควรรอและมุ่งเน้นไปที่การทำกำไรด้วยการซื้อขายในเวลาที่เหมาะสม

ความผันผวนคือสิ่งที่ท้าทายที่สุด คุณจะไม่มีทางเข้าใจได้ว่าราคาเคลื่อนไหวอย่างไรและเพราะอะไร แม้แต่เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ก็หลีกเลี่ยงการเทรดจนกว่าตลาดจะกลับสู่ภาวะปกติ เพื่อให้แน่ใจว่า เราจะสามารถควบคุมความเสี่ยงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สิ่งสำคัญคือคุณต้องพัฒนาทักษะในการรอ หรือ “ความอดทน”

ดูไทม์เฟรมใหญ่ไว้เสมอ

ในช่วงเวลาที่ผันผวน คุณควรใช้กราฟในไทม์เฟรมที่สูงขึ้นเพื่อการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้คุณไม่หลุดกรอบ ยิ่งถ้าหากมีความรู้เรื่อง Price Action หรือรูปแบบกราฟในภาพใหญ่ จะยิ่งทำให้เราระมัดระวังในการเทรดได้เป็นอย่างดี และเทรดเดอร์ที่เป็นสาย Trend Following จะได้ประโยชน์จากไทม์เฟรมใหญ่มากกว่า ซึ่งหมายถึงกราฟ Day, Week ขึ้นไป หรืออย่างน้อยก็ควรดูกราฟ H4 เพื่อมองภาพทั้งสัปดาห์ไว้เสมอ

การเทรดในกรอบเวลาที่สูงขึ้นยังบังคับให้เทรดเดอร์ให้ความสำคัญกับภาพรวมมากกว่าการเข้าไปลุยกับความผันผวน แม้ว่าการเทรดในตลาดที่ผันผวนจะช่วยเพิ่มทักษะการเทรดได้เป็นอย่างดี แต่ถึงที่สุดแล้ว การประคองสถานะให้อยู่ในแนวเดียวกันกับแนวโน้มใหญ่จะเป็นผลดีกว่ามาก


กลยุทธ์ Trend Following

Trend Following เป็นเพียงหนึ่งในกลยุทธ์การเทรดคู่เงิน Forex ที่ดีประสิทธิภาพ แต่ทุกกลยุทธ์ก็มีจุดอ่อนเสมอ และสำหรับ Trend Following มีจุดอ่อนในเรื่องของราคาเข้าเทรดที่อาจต้องรอการยืนยันสัญญาณเทรด ซึ่งบ่อยครั้งจะมีจุด Stop Loss ที่กว้าง

แต่ทั้งนี้ เทคนิค คือ หลังจากที่วิเคราะห์ความอิ่มตัวหรือจุดกลับตัวของราคาที่สอดคล้องกับภาพใหญ่ได้แล้ว หากตลาดอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ควรวาง Stop Loss ให้ต่ำกว่า Swing Low หรือแนวรับที่สำคัญก่อน ๆ ในขณะที่แนวโน้มขาลง ควรวาง Stop Loss เหนือ Swing High ก่อนหน้าหรือแนวต้านที่สำคัญก่อน ๆ

แต่การผสานข้อดีของแต่ละกลยุทธ์ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดี เทรดเดอร์ Forex ที่เริ่มชำนาญอาจประยุกต์ใช้เทคนิคการเข้าออเดอร์แบบ Swing Trade ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดอิ่มตัวในระยะสั้น เพื่อชดเชยความล่าช้าของกลยุทธ์ Trend Following ที่มักต้องรอการยืนยันสัญญาณที่ค่อนข้างนาน

Indicator ที่เหมาะกับกลยุทธ์ Trend Following

กลุ่ม Indicator ที่นิยมใช้เทรดตามเทรนด์

  • Moving Averages 
  • Bollinger Bands 
  • Moving average convergence/divergence (MACD)  
  • Relative Strength Indicator (RSI) 
  • On-balance volume (OBV) 

และนี่คือภาพรวมเกี่ยวกับแนวคิดการใช้ Indicator เหล่านี้ในการเทรดตามแนวโน้ม

1. Moving Average

ด้วยการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ทำให้ง่ายต่อการพิจารณาว่าจะใช้สถานะซื้อหรือสั้นในคู่สกุลเงิน แนะนำให้เปิดสถานะขายในคู่สกุลเงิน หากราคาของทั้งคู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มเชิงลบ ในทางกลับกัน เมื่อราคาของคู่สกุลเงินอยู่เหนือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย เราจะต้องซื้อเพราะมีความคาดหวังอย่างมากว่าราคาจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไป

แนวคิดการใช้ Moving Average

การใช้ Moving Average เพื่อทำให้ง่ายต่อการพิจารณาว่าจะใช้เปิดสถานะ Buy หรือ Sell ในสินทรัพย์นั้น ๆ แนวคิดพื้นฐาน คือ หากราคาของหุ้นหรือค่าเงินที่กำลังพิจารณาอยู่ เคลื่อนสูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เทรดเดอร์มีแนวโน้มจะเปิดสถานะ Buy เพื่อเทรดตามเทรนด์ ในทางกลับกัน เมื่อราคาของสินทรัพย์นั้น ๆ อยู่ต่ำกว่าเส้น Moving Average เทรดเดอร์จะหยุดดู หรือเลือก Sell หากเป็นการเทรดฟิวเจอร์สหรือตราสาร CFD

อย่างไรก็ตาม ในเทคนิคขั้นสูงแล้ว มักมีการใช้เทคนิคการวิเคราะห์สัญญาณอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เพราะเทรดเดอร์จำนวนมากก็มองว่า สัญญาณจาก Moving Average นั้นช้าและ “Lagging”

2. Bollinger Bands

Bollinger Bands เป็น Indicator อเนกประสงค์ที่เทรดเดอร์สามารถใช้วัดความผันผวนในตลาด และสามารถกำหนดจุดเข้าและออกสำหรับการเทรดจากกรอบที่ใช้วัดความผันผวนนั้นได้ทันที

Bollinger band ประกอบด้วยสามเส้น:

  • Upper Bollinger band 
  • Middle Bollinger band 
  • Lower Bollinger band 

ในช่วงเวลาที่มีความผันผวนสูง กรอบบน-ล่าง (Upper Bollinger band กับ Lower Bollinger band) จะขยายกว้างขึ้น และจะบีบแคบลงเมื่อความผันผวนในตลาดต่ำลง

แนวคิดในการเทรดตามแนวโน้ม คือจังหวะที่ Band บีบแคบลง เทรดเดอร์จะพิจารณาว่า เป็นจังหวะพักตัวเพื่อไปต่อของราคาหรือไม่? ในขณะที่หาก Band ขยายตัวกว้าง มักเป็นสัญญาณให้เทรดเดอร์ปรับพอร์ตการลงทุนลง เพราะความผันผวนที่สูง อาจนำไปสู่การกลับตัวของแนวโน้มหลักได้เสมอ

นั่นคือเทคนิคของสาย Trend Following ที่จะใช้เรื่องการขยายตัวของ Band เป็นจังหวะในการปรับพอร์ต แต่สำหรับสาย Swing Trade หรือการเทรด Scalping จะปรับใช้การชะลอตัวของราคาเมื่อมีการปะทะกรอบบน-ล่าง เป็นต้น ซึ่งแนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติมในบทความเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน Bollinger Bands โดยตรง

3. Moving Average Convergence/Divergence (MACD) 

oving Average Convergence/Divergence เรียกสั้น ๆ ว่า “MACD” เกิดจากการนำ Moving Average จำนวน 2 เส้นที่แตกต่างกันมาวิเคราะห์ในมุมที่ลึกมากขึ้น ทำให้วิเคราะห์แนวโน้มราคาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (แต่ซับซ้อนขึ้นเล็กน้อย) ข้อดีของ MACD คือสามารถบอกถึง “การอิ่มตัว” ของราคาได้ภายในตัวของ MACD เอง

MACD สามารถตั้งค่าได้อย่างอิสระ อย่างที่บอกว่า พื้นฐานมันคือ “เส้น MA ตัดกัน” ดังนั้น การตั้งค่าก็จะอิงตามการใช้ MA ตัดกันตามแบบนิยม เช่น เส้น MA-20 กับ MA-100 หรือหากเล่นกรอบใหญ่ก็อาจเล่นเป็นเส้น MA-50 กับ MA-200

4. Relative Strength Indicator (RSI) 

RSI คือ Indicator ยอดนิยมสำหรับสายโมเมนตัม ใช้ได้ทั้งการวิเคราะห์เทรนด์และการเทรดแบบ Sideway แต่ถ้าพูดเฉพาะการวิเคราะห์การอิ่มตัวของราคา (Overbought/Oversold) แล้ว RSI อาจจะถือได้รับความนิยมมากที่สุดเลย เนื่องจากทำดัชนีออกมาเข้าใจง่าย (เมื่อเทียบกับ MACD)

RSI หรือ Relative Strength Index ชื่อก็บอกอยู่ว่า “เปรียบเทียบความแข็งแกร่ง” เดิมทีใช้วิเคราะห์ระหว่างหุ้นสองตัวขึ้นไป เพื่อดูว่า “ตัวไหนแข็งแกร่งกว่ากัน” โดยแสดงเป็นดัชนี 0 ถึง 100

อย่างไรก็ตาม เมื่อองค์ความรู้ในการเทรดมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น มีการพัฒนาการใช้ RSI สำหรับการวิเคราะห์หลักทรัพย์เป็นตัว ๆ และเปรียบเทียบความแข็งแกร่งของหลักทรัพย์กับช่วงเวลาในอดีต โดยค่า RSI ที่ต่ำกว่า 30 บ่งชี้ถึงตลาดที่มีการขายมากเกินไป (Oversold) ในขณะที่ค่าที่สูงกว่า 70 บ่งชี้ว่าตลาดมีการซื้อมากเกินไป (Overbought)

5. On Balance Volume (OBV) 

On Balance Volume (OBV) เป็น Indicator ที่วัดโมเมนตัมได้อีกตัวหนึ่ง โดยอาศัยการวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ว่า สอดคล้องหรือยืนยันแนวโน้มอย่างไรบ้าง เทรนด์ที่เกิดขึ้นมีคุณภาพหรือไม่? มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ มีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างปริมาณและการเพิ่มขึ้นของราคา

OBV ทำงานในลักษณะเดียวกันกับเครื่องมือกลุ่ม Oscillator อื่น ๆ คือ OBV ที่เพิ่มขึ้นบ่งชี้ว่าราคาสูงขึ้น ในขณะที่ OBV ที่ลดลงบ่งชี้ว่าราคาลดลง การเพิ่มขึ้นของ OBV ตามการเพิ่มขึ้นของราคาจะถือว่าเป็นบวก หรือยังเป็น “เทรนด์ที่มีคุณภาพ” ในทางกลับกัน การไม่สอดคล้องกัน ถือว่าเป็นสัญญาณเชิงลบ

สรุปว่า OBV จะมีหลักการคล้าย MACD, RSI แต่การคำนวณของ OBV ให้น้ำหนักไปทาง Volume ซึ่งใช้ได้ผลดีในตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม ในการเทรด Forex ก็ยังสามารถใช้ OBV ในลักษณะของสัญญาณเตือนแบบ Divergence กับตลาด Forex ได้อยู่


ความยากของ Trend Following อยู่ที่ “จิตใจ”

ปัญหาของนักเทรดจำนวนมาก คือ กลัวการสูญเสีย และไม่ได้วางระบบเทรดมา ระบบเทรดแบบ Trend Following อาจมีโอกาสชนะที่ต่ำ โดย 70% ของการเทรดอาจจบที่ Stop Loss แต่กำไรจากอัตราชนะเพียง 30% ก็อาจสร้างผลกำไรโดยรวมที่ดีให้กับพอร์ตได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สิ่งสำคัญคือต้องกลับไปทดสอบระบบเทรดของตัวเอง

แต่จุดอ่อนของ Trend Following มันไปเล่นกับ “ความไม่อดทน” เทรดเดอร์จำนวนมากไม่เต็มใจรอ และต้องการความท้าทายในการลงทุนตลอดเวลา เขาไม่สามารถอยู่เฉย ๆ ได้ เมื่อมีกำไรจากสถานะการเทรดระยะยาว เขาไม่สามารถรอให้เกิดผลกำไรตามแนวโน้มหลักได้ ดังนั้น เหตุผลของความล้มเหลวของ Trend Following ไม่ใช่ความยากของระบบ แต่เป็นเรื่องจิตใจ


ข้อดีของกลยุทธ์ Forex Trend Following

ความนิยมของตลาดการเงินถูกครอบงำด้วยกลยุทธ์ Trend Following มานานแล้ว เป็นกลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพสูง และให้ผลกำไรที่ดีเมื่อเงื่อนไขตลาดครบสมบูรณ์ มีวิธีการตรงไปตรงมา มีตัวอย่างความสำเร็จมากมาย แม้แต่กลุ่มผู้จัดการกองทุนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน ก็ออกมายอมรับว่า ตนใช้กลยุทธ์ Trend Following

และต่อไปนี้ คือคำโฆษณาว่าทำไมคุณควรเข้าลัทธิเป็น Trend Follower ในที่สุด

  • กำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง: การเทรดตามเทรนด์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดที่เป็นขาขึ้นหรือขาลง แต่ Trend Followr พิจารณาจุดเริ่มต้นของการก่อแนวโน้ม และไหลไปกับมันได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
  • Let profits run: เป้าหมายของ Trend Following คือการได้รับผลตอบแทนในระยะยาว ซึ่งอาจรวมถึงผลตอบแทนทบต้นจากการซื้อหุ้นและถือในระยะเวลาที่เหมาะสม คุณสามารถออกไปใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ ออกแบบชีวิตที่คุณต้องการได้
  • ใช้จิตวิทยามวลชน: Trend Following ได้ประโยชน์จากพฤติกรรมตื่นตระหนกของนักลงทุน อคติทางพฤติกรรมจะทำให้เกิดความผันผวน และเมื่อผู้อ่อนแอหมดจากตลาด ราคาจะกลับเป็นเทรนด์อีกครั้ง สิ่งที่จะปกป้องตัวเรา คือ ระเบียบวินัยที่เคร่งครัด ซึ่งทำให้เราแตกต่างจากนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด
  • เอาตัวรอดในวิกฤตได้: กลยุทธ์ Trend Following มีหลักการที่ป้องกันตัวเองจากวิกฤตและปรับตัวได้ดี Trend Following จะใช้ “ความผันผวน” มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนเสมอ ราคาที่ปรับตัวลงมากเกินไป จะทำให้ Trend Follower ค่อย ๆ ลดพอร์ตการลงทุนลง
  • เหมาะกับทุกสินค้า: ตลาดการเงินยังอยู่ภายใต้หลักการ Demand & Supply นั่นแปลว่า จะมีคนซื้อและคนขายอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งนำไปสู่การเกิด Trend ในอนาคต แปลว่า กลยุทธ์ Trend Following จะไม่มีวันตาย ขึ้นอยู่กับเราต้องเลือกสินค้าและช่วงเวลาให้เหมาะสม
Trend Following ไม่ได้สนใจว่าตลาดจะขึ้นหรือลง หรือแม้แต่ Sideway แค่เกาะไปกับการไหลเวียนของตลาด

กลยุทธ์การเทรดแบบ Trend Following ไม่ใช่กระแสนิยมหรือความลับแต่อย่างใด มันเรียบง่ายกว่า กฎเกณฑ์ธรรมชาติของมนุษย์ด้วยซ้ำ การเทรดตามเทรนด์อาศัย “พลังใจ” หรือระเบียบวินัยในการควบคุมอารมณ์ สุดท้ายเป้าหมายในการเป็นอิสรภาพทางการเงินก็จะเป็นของ Trend Follower ได้ในที่สุด

aximtrade
aximtrade broker