เดิมทีในวงการตลาดการเงิน การเปิดบัญชีเทรด Forex สำหรับรายย่อย จะมีเพียงประเภทบัญชีให้เทรดแบบเดียวเท่านั้น คือ บัญชี Standard ซึ่งเป็นบัญชีมาตรฐานที่เทรดเดอร์ต้องซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ Forex ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งคำสั่งซื้อขายไปจับคู่กับเทรดเดอร์รายอื่น หรืออาจเป็นคู่ค้าโดยตรงเพื่อเติมเต็มสภาพคล่องบางส่วน
แต่เมื่อตลาดการเงินพัฒนามากขึ้น ทำให้ราว ๆ สิบปีมานี้ เกิดนวัตกรรมที่เรียกว่า “บัญชี ECN” ซึ่งทำให้คำสั่งซื้อขายของเทรดเดอร์ “รายย่อย” สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลาง (OTC) ของผู้ให้สภาพคล่องทั้งหมดได้ทันที คำถาม คือ บัญชี ECN ดีกว่าจริงไหม? และเหมาะกับเทรดเดอร์แบบไหนบ้าง?
สารบัญ
บัญชี ECN คืออะไร?
บัญชี ECN คือ บัญชีเทรด Forex ที่ทำการส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าเข้าไปยังเครือข่าย ECN โดยตรง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่รวมออเดอร์การซื้อขายจากเทรดเดอร์ทั่วโลก รวมถึงธนาคารและสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ทำให้การเทรดผ่านบัญชี ECN จะได้รับการจับคู่คำสั่งเทรดที่รวดเร็วมาก เพราะเครือข่ายจะมีสภาพคล่อง (Volume) รองรับอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ ECN ย่อมาจาก “Electronic Communications Network”
นอกจาก “Pool” หรือศูนย์รวมของคำสั่งซื้อขายของเทรดเดอร์รายอื่น ๆ แล้ว องค์ประกอบสำคัญของเครือข่าย ECN คือ “ผู้ให้บริการสภาพคล่อง” (LP: Liquidity Provider) ซึ่ง LP ก็คือคนที่คอยรับซื้อออเดอร์ของเรา เพื่อรับประกันว่า ทุกการซื้อขายในตลาด Forex จะมีความราบรื่นมากที่สุด (คล้ายกับบัญชี Standard ที่โบรกเกอร์อาจรับซื้อบางออเดอร์ของเราเองเพื่อรับประกันต้นทุนค่า Spread)

จากภาพด้านบน เมื่อคุณเทรด Forex ผ่านแพลตฟอร์ม MT4 แล้ว ในตัวโปรแกรมจะแสดงรายละเอียดชัดเจนว่า “นี่คือบัญชี ECN” ซึ่งจะมีเงื่อนไขการซื้อขายแตกต่างจากบัญชีทั่วไป (เช่น ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่น ที่จะได้อธิบายต่อไป) เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าสับสนว่ากำลังเทรดผ่านบัญชีอะไรอยู่ เพราะลูกค้า 1 คนสามารถเปิดบัญชี Forex ได้หลายประเภท และทุกประเภทบัญชีสามารถเทรดผ่าน MT4 ได้ทั้งสิ้น
บัญชี ECN กับ Standard แตกต่างกันอย่างไร?
เราได้เขียนบทความเกี่ยวกับบัญชี Standard ไว้แล้ว ซึ่งหัวใจของหลักการของบัญชี Standard คือ โบรกเกอร์อาจเข้ามาเป็นคู่ค้าหรือ Market Maker ให้รักษาเสถียรภาพของค่า Spread ซึ่งนั่นแปลว่า บัญชี Standard จะต้องประมวลผลก่อน 2-3 ขั้นตอน เริ่มจากคำนวณว่าในเครือข่ายของตัวโบรกเกอร์ มีออเดอร์ที่สามารถจับคู่ซื้อขายได้ทันทีเลยหรือไม่ หรือโบรกเกอร์จะช่วยเป็นคู่ค้าให้กับลูกค้าเอง หรือจะส่งคำสั่งซื้อขายไปยังผู้ให้สภาพคล่องอีกต่อหนึ่ง
ในทางตรงกันข้าม บัญชี ECN จะทำการส่งคำสั่งซื้อขายไปยังเครือข่ายของ ECN ทั้งหมด ซึ่งทำให้การส่งคำสั่งซื้อขายและการจับคู่ (Match) คำสั่งเทรดสามารถทำได้เร็วกว่าบัญชี Standard อย่างไรก็ตาม ความเร็วในการ Match คำสั่งเทรดที่เหนือกว่าของบัญชี ECN นั่น ก็เร็วกว่าในระดับ “มิลลิวินาที” เท่านั้น
และทั้งนี้ การส่งคำสั่งซื้อขายโดยตรงไปยังเครือข่าย ECN จะมีผล 2 ประการสำหรับนักเทรด ดังนี้
1. โบรกเกอร์ทำหน้าที่เพียงเป็นตัวกลางส่งคำสั่งเทรดให้เท่านั้น – ทำให้ค่า Spread ของบัญชี ECN ต่ำกว่าบัญชี Standard พอสมควร เนื่องจากโบรกเกอร์ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมรวมเข้าไปในค่า Spread แบบบัญชี Standard (โบรกเกอร์แทบไม่ได้รายได้เลย เป็นเพียงตัวกลางในการอำนายความสะดวกเท่านั้น)
2. แต่ลูกค้าต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่น – ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้งานเครือข่าย ECN
ค่าคอมมิชชั่นของบัญชี ECN
การเทรดผ่านบัญชี ECN จะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสองส่วน อย่างแรกคือค่าใช้จ่ายโดยตรงสำหรับการเข้าถึงเครือข่าย ECN เรียกว่า “ค่าคอมมิชชั่น” ซึ่งโบรกเกอร์ AximTrade เรียกเก็บเพียง 3 USD ต่อ Lot เท่านั้น (การเปิดและปิดออเดอร์ จะนับเป็น 1 ครั้ง เสียครั้งละ 3 USD ต่อ Lot) และมีค่าสเปรดเล็กน้อยตามกลไกตลาด
แต่สำหรับบัญชี Standard จะเรียกเก็บแค่ค่าสเปรด แต่ถึงกระนั้น ต้นทุนโดยรวมของบัญชี Standard จะยังสูงกว่าบัญชี ECN อยู่เล็กน้อย ดังที่ได้สรุปในตารางด้านล่าง

บัญชี ECN เหมาะกับการ Scalping
ความเร็วที่เพิ่มมาของบัญชี ECN แม้จะเป็นหลักมิลลิวินาที แต่ก็มีผลต่อการเทรดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสไตล์การเทรด Scalping ที่บ่อยครั้งอาจเทรดกราฟราย 1 นาที และการเคลื่อนของราคาเพียง 1-2 PIPS ก็อาจส่งผลต่อกำไรขาดทุนอย่างมหาศาลได้เหมือนกัน
สามารถใช้เทรดสั้นได้ดีมาก – การเทรดสั้น ๆ หรือหลักการแบบ Scalping ต้องการส่วนต่างของราคาแค่สั้น ๆ เท่านั้น บางครั้งต้องการกำไรหลักวินาทีด้วยซ้ำ ดังนั้น เทรดเดอร์ต้องการบัญชีที่มี Spread ต่ำ ๆ อย่างบัญชี ECN
Spread และต้นทุนรวมต่ำกว่ามาก – ในบัญชีทั่วไป จะมีการ “บวกสเปรด” จากราคาซื้อขาย ซึ่งเทรดเดอร์ต้องจ่ายเป็นค่าบริการให้กับโบรกเกอร์ แต่สำหรับบัญชี ECN แล้ว ค่าสเปรดจะต่ำมากเพียง 0 – 0.3 pip เพราะอย่างที่อธิบายไปแล้ว โดยถือว่าโบรกเกอร์ทำหน้าที่เพียง “ส่งต่อ” คำสั่งเทรดของลูกค้าเท่านั้น ส่วนภาพด้านล่างคือบัญชี ECN ของ AximTrade ที่เก็บค่าคอมมิชชั่นต่ำมาก

กำหนดราคาซื้อขายได้แม่นยำ – ข้อนี่ถือเป็นข้อดีที่เป็นกลยุทธ์ขั้นสูง เช่น ต้องการซื้อขายที่ราคาหนึ่ง ๆ “แบบเป๊ะ ๆ” เพื่อให้สามารถคำนวณต้นทุนการเทรดและระยะ Stop Loss ให้แม่นยำที่สุด การใช้บัญชี ECN จะตอบโจทย์กว่ามาก เพราะบัญชีอื่น ๆ จะมีข้อกำหนดเรื่องระยะห่างในการวาง Pending
บัญชี ECN กับการทำ IB Forex
เราทราบแล้วว่า บัญชี ECN คือสิ่งที่แทบไม่ได้สร้างรายได้ให้กับโบรกเกอร์ Forex ดังนั้น (ฮ่า ๆ) โบรกเกอร์ในฐานะตัวกลางในการจัดการคำสั่งซื้อขายจึงไม่สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางการตลาดต่าง ๆ ได้ เช่น การ Rebate หรือโบนัสเงินฝากต่าง ๆ
และสำหรับการทำ IB Forex ก็มักมีข้อกำหนดที่ว่า ไม่สามารถใช้งานกับบัญชี ECN ได้ ซึ่งก็อาจถือว่าเป็นการสูญเสียโอกาส เพราะโบรกเกอร์สามารถสนับสนุนการสัมมนา, การออกแบบของขวัญต่าง ๆ ความยุ่งยากเหล่านี้จะเป็นทางทีมงานโบรกเกอร์ดูแลให้ แต่มักมีข้อกำหนดให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีกับ IB ต้องเปิดผ่านบัญชี Standard เท่านั้น ทั้งนี้ก็ตามเหตุผลที่อธิบายข้างต้นว่า
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า การใช้บัญชี Standard จะเท่ากับแบ่งรายได้ให้กับโบรกเกอร์ ในขณะที่บัญชี ECN โบรกเกอร์จะไม่ได้รับส่วนแบ่งค่าสเปรด จึงทำให้โบรกเกอร์ไม่สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางการตลาดอื่น ๆ ให้ได้
เปิดบัญชี ECN โบรกไหนดี?
ถ้าพอจะเข้าใจหลักการทำงานแล้วว่า บัญชี ECN คือการส่งคำสั่งแบบไหน เราก็จะโฟกัสถูกจุดแล้วว่า เป้าหมายของ ECN คือการส่งคำสั่งเทรดเข้าไปที่เครือข่าย LP ทันที ดังนั้น โดยพื้นฐานราคาซื้อขายของสินค้าต่าง ๆ ก็ไม่ควรมีสเปรดที่สูงมาก เพราะโบรกเกอร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับราคาซื้อขาย เป็นเพียงตัวกลางในการจัดการออเดอร์เท่านั้น
ดังนั้น ถ้าต้องเลือกบัญชี ECN ให้ตรวจสอบค่าสเปรดก่อนว่า ใกล้เคียง 0 pip หรือไม่? หรืออย่างน้อยควรอยู่ในกรอบ 0.0 – 0.3 pip สำหรับคู่เงิน EURUSD เพราะหากสเปรดของบัญชี ECN สูงเกินไป แปลว่า โบรกเกอร์พยายามเก็บส่วนต่างเพิ่ม ซึ่งผิดหลักการของบัญชี ECN
เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงแนะนำโบรกเกอร์ AximTrade เป็นพิเศษ เพราะบัญชี ECN ของ AximTrade จะมีค่าสเปรดตามกลไลตลาดเท่านั้น ซึ่งในสภาวะตลาดปกติอาจอยู่ประมาณ 0.0-0.3 pip นั่นแปลว่า AximTrade ไม่ได้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับบัญชี ECN เลย ลูกค้าเพียงจ่ายเงิน 3 USD ต่อ Lot เป็นค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น และด้านล่างนี้คือตารางสรุปรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับ ECN ของ AximTrade