คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่า Fed Dot Plot ที่ใช้ในแวดวงนักลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์ มันเป็นการคาดการณ์ภาพรวมของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED บทความนี้จะอธิบายพื้นฐานเกี่ยวกับ Fed Dot Plot ดังกล่าว และวิธีการตีความหมาย รวมถึงว่าเราจะสามารถใช้ประโยชน์จากมันในฐานะนักลงทุนได้อย่างไรบ้าง
สารบัญ
Fed Dot Plot คืออะไร?
Fed Dot Plot คือ แผนภาพที่สรุปความคาดหวังและมุมมองของผู้กำหนดนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ว่ามีแนวโน้มจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Federal Funds Rate) มากน้อยเท่าใด หรือในช่วงเวลาใด ดังนั้น Fed Dot Plot จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักสำหรับนักลงทุนในการเตรียมตัวรับมือกับอัตราดอกเบี้ยที่จะเปลี่ยนแปลงไป
- Fed Dot Plot เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่นิยมพิจารณาพอ ๆ กับตัวเลข GDP
แผนภูมิ Fed Dot Plot ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยตัวของ Federal Reserve เองในปี 2012 แล้ววัตถุประสงค์ของ FED ก็เพื่อต้องการสื่อสารกับตลาดและนักลงทุน เนื่องจากพวกเขาเรียนรู้ว่า การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับทิศทางของนโยบายทางการเงิน จะเป็นตัวที่ป้องกันผลร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นแบบเดียวกับวิกฤตการเงินโลกในปี 2008 และเพื่อป้องกันข้อครหาที่ว่าอาจมีการกำหนดนโยบายที่เอื้อผลประโยชน์ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแบบลับ ๆ จึงต้องมีการประกาศเป็นแบบสาธารณะตั้งแต่นั้นมา
วิธีการอ่าน Fed Dot Plot
เส้นแนวตั้งแสดงระดับการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย และเส้นแนวนอนจะเป็นช่วงเวลาหรือเดือนที่คาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนั้น ๆ จะมาถึง และจุดที่สำคัญที่สุดคงจะเป็น “จุดสีน้ำเงิน” (Blue Dot) คือการแสดงจำนวนสมาชิก FOMC ที่เชื่อในระดับดอกเบี้ยและช่วงเวลานั้น ๆ
ตัวอย่างเช่น Fed Dot Plot ที่เผยแพร่ในเดือนธันวาคม 2021 สมาชิก FOMC ทุกคนคาดการณ์ว่า Federal Funds Rate จะยังคงอยู่ในช่วงปัจจุบันระหว่าง 0.00% ถึง 0.25% (ให้สังเกตเป็นแนวตั้งขึ้นไป จะเห็นว่าไม่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ในจุดอื่นเลย นอกจากตรง 0.00%)

ในขณะที่ในปี 2022 สมาชิกหนึ่งคนสนับสนุนการปรับขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้ง (ขยับมาเหนือเส้นประที่ 1), สมาชิก 5 คนสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง (มี 5 จุดมาอยู่เหนือเส้นประที่ 2), มีสมาชิก 10 คนสนับสนุนการปรับขึ้น 3 ครั้ง และมีสมาชิกเพียง 2 คนเท่านั้นที่เชื่อว่า จะปรับขึ้นถึง 4 ครั้ง (มีจุด 2 บนเส้นที่ 4 เส้นสีดำทึบ ๆ) ดังนั้นจากตัวอย่างนี้ ในปี 2022 ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้ง
ความสัมพันธ์ของ FOMC กับ Fed Dot Plot
FOMC เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้ระบบธนาคารกลางสหรัฐ แยกออกมาเป็นองค์ประชุมต่างหากเพื่อกำหนดนโยบายทางการเงินของสหรัฐ ทั้งนี้เครื่องมือหลักของ FOMC จะเป็นการควบคุมปริมาณหลักทรัพย์ที่หมุนเวียนในระบบ โดยกระบวนการซื้อขายดังกล่าวจะเรียกว่า Open Market Operations (OMOs) โดยทั้งหมดนี้เป้าหมายสุดท้ายจะเป็นการบรรลุความคาดหวังทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเงินเฟ้อและอัตราการจ้างงาน ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว FOMC จะประชุมกันปีละ 8 ครั้ง หรือวาระเพิ่มเติมอื่น ๆ ตามความจำเป็น

คณะกรรมการ FOMC ประกอบด้วยสมาชิกที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง 12 คน อย่างไรก็ตาม Fed Dot Plot จะเป็นการวมความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนเกี่ยวข้องกับแผนกนโยบายทางการเงิน ดังนั้น Fed Dot Plot จึงไม่ได้สะท้อนเฉพาะกลุ่มสมาชิกที่มีอำนาจตัดสินใจ แต่จะเป็นภาพรวม ๆ ของสมาชิกที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งเชื่อว่า จะสะท้อนความตั้งใจของ FED ในอนาคตได้หลากหลายแง่มุมมากกว่า
- โดยทั่วไปแล้ว ความตั้งใจที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือรักษาระดับที่เป็นกลางนั้นดีต่อสกุลเงิน ตรงกันข้าม การคาดการณ์ดอกเบี้ยที่ลดลง ย่อมอาจหมายถึงการนำไปสู่การไหลออกของกระแสเงินในตลาดได้เช่นกัน ซึ่งทำให้ค่าเงินอ่อนค่าในที่สุด
จะขอสรุปในหัวข้อนี้ว่า FOMC หมายถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและนโยบาย แต่ FED Dot Plot การสำรวจสมาชิกคนอื่น ๆ ด้วย นอกเหนือจากสมาชิก 12 คนของ FOMC ซึ่งทำให้ได้มุมมองที่กว้างกว่าเกี่ยวกับแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
FED Dot Plot จะเผยแพร่ตอนไหน?
ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED จะเผยแพร่ Dot Plot ดังกล่าวเป็นรายไตรมาส (มีนาคม, มิถุนายน, กันยายน และธันวาคม) ซึ่งจะถูกเผยแพร่รวมอยู่ในบทสรุปของ Summary of Economic Projections (SEP) ซึ่งใน SEP จะมีรายละเอียดการคาดการณ์อื่น ๆ ที่สำคัญทางเศรษฐกิจรวมอยู่ด้วย เช่น เงินเฟ้อ, การว่างงาน หรืออัตราการเติบโต (GDP)
ดังนั้น SEP จึงเป็นเหมือนข้อมูลปฐมภูมิสำหรับการอ้างอิงในการทำการวิจัยต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจที่มักมีการประกาศในรายสัปดาห์ (ปฏิทิน Forex)
FOMC กำหนดอัตราดอกเบี้ยจากอะไร?
ในการบริหารเศรษฐกิจ Fed จะใช้ “นโยบายทางการเงิน” เป็นเครื่องมือหลัก ซึ่งในปัจจุบัน FED จะใช้เกณฑ์เงินเฟ้อเป็นตัวพิจารณาว่าจะต้องเข้าไปควบคุมอัตราดอกเบี้ย, ปริมาณเงินในระบบ, การกู้ยืมเงิน ฯลฯ ในปริมาณเท่าไร ซึ่งปัจจุบันยังวางเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2%
เงินเฟ้อ หมายถึงดัชนีภาพรวมของราคาสินค้า ซึ่งคำนวณทั้งจากค่าใช้จ่ายในการเดินทาง, ค่าอาหาร, ที่อยู่อาศัย ฯลฯ อัตราดอกเบี้ยมักจะส่งผลต่อต้นทุนของสินค้าอุปโภคบริโภคก่อน การขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ธุรกิจมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้มากขึ้น ก็อาจจะนำไปสู่การขึ้นราคาสินค้า และนั่นอาจทำให้ความต้องการในการซื้อสินค้าลดลง หลังจากนั้นราคาสินค้าก็จะค่อย ๆ ปรับตัวลงตามกลไกราคา นี่เป็นที่มาว่าทำไมดอกเบี้ยจึงสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้
แล้วเมื่อ FED กำหนดกรอบอัตราเงินเฟ้อหลักไว้ที่ 2 % เมื่อมีการใช้นโยบายทางการเงินที่ตึงเครียดขึ้น กดดันให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง หรือหลังจากที่ FED เริ่มขึ้นดอกเบี้ย ทางการก็จะเริ่มค่อย ๆ ติดตามผลลัพธ์จากนโยบายทางการเงินดังกล่าว หากเงินเฟ้อได้ตามเป้าที่ต้องการแล้ว การขึ้นดอกเบี้ยก็จะไม่จำเป็นอีกต่อไป ซึ่งอาจรวมถึงการนำไปสู่การลดดอกเบี้ยในที่สุด
Fed Dot Plot กับการเทรด Forex
เรารู้แล้วว่า Fed Dot Plot คือการคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ซึ่งแปลว่า หากกราฟดังกล่าวบ่งบอกว่าสหรัฐมีแนวโน้มที่จะมีดอกเบี้ยสูงขึ้น มันก็มีโอกาสที่จะทำให้คู่เงิน Forex ที่เทรดตรงข้ามสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) อ่อนค่าลงทั้งหมด ดังนั้นเราจึงควรฝากเงินเป็นสกุลเงิน USD ไว้ ซึ่งอาจจะถือไว้เฉย ๆ ก็ได้ เพราะหากเป็นแนวโน้มขาขึ้นจริง ค่าเงินก็อาจจะแข็งค่าได้ถึงระดับ 10% – 15% ต่อปีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม หากเป็นในกรณีตรงข้ามที่ Fed Dot Plot บ่งชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐน่าจะมีแนวโน้มลดลง เราก็คาดการณ์ได้ระดับหนึ่งว่า USD อาจจะอ่อนค่าลงได้เช่นกัน เพราะมันหมายถึงอัตราผลตอบแทนที่ได้จากการถือครองพันธบัตรสหรัฐก็จะได้น้อยลงด้วย ดังนั้นนักลงทุนก็มีแนวโน้มที่จะมองหาทางเลือกในการลงทุนแบบอื่น ๆ อย่างไรก็ตามเราสามารถถือครอง USD แต่อาจใช้วิธีการเทรด Forex เข้ามาช่วยสร้างกระแสเงินสดเพิ่มเติมได้ หรือหากมีความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจสูงมาก คุณอาจเปลี่ยนไปถือสกุลเงินอื่น ๆ แทน USD ได้ เช่น JPY, CHF เป็นต้น
▶ ลงทุนกับโบรกเกอร์ AximTrade
หากคุณอยากจะทดลองเรียนรู้ตลาด Forex ว่ามีกลไกอย่างไร หรือเคลื่อนไหวอย่างไร รวมถึงจะคำนวณกำไรขาดทุนอย่างไร เราแนะนำให้เปิดบัญชีทดลองกับโบรกเกอร์ AximTrade ฝึกฝนและทดสอบระบบการเทรดต่าง ๆ ของคุณได้อย่างอิสระ บัญชีทดลองจะจำลองเงินลงทุนให้คุณเสมือนว่ากำลังเทรดบนตลาดจริง ๆ ได้ คลิกที่ปุ่มด้านล่าง!